วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คลีโอพัตรา



"คลีโอพัตรา ในมุมหนึ่งที่คุณไม่เคยรู้"

พอเอ่ยชื่อ " พระนางคลีโอพัตรา " ก็ให้รู้สึกลำบากใจที่จะต้องเขียนถึง ด้วยความที่เป็นชื่อที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เอาเป็นว่าเราจะกล่าว ถึงเรื่องของพระนางเพียงพอสังเขปรวมถึงเรื่องราวในแง่มุม ที่คุณเองก็อาจจะไม่เคยได้รับรู้มาก่อน

เริ่มกันตั้ง แต่ชื่อ " คลีโอพัตรา " ที่ใครๆ เข้าใจเป็นชื่ออิยิปต์ แต่แท้ที่จริงแล้วชื่อนี้เป็นชื่อกรีกและยังเป็นกรีกมาซีโดเนียเสียด้วย ตามหน้าประวัติศาสตร์แล้วพระชายาองค์หนึ่งของพระเจ้าลิปซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้า

อเล็กซานเดอร์มหาราช ก็ทรงมีพระนามว่า " คลีโอพัตรา " และเมื่อราชวงศ์ปโตเลมีของมาซีโดเนี่ยนขึ้นปกครอง



"คลีโอพัตรา องค์สุดท้าย"

ไอยคุปต์นาม " คลีโอพัตรา " จึงนิยมตั้งชื่อกันอย่างแพร่หลายในหมู่เจ้าหญิงของราชวงศ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ราชินีคลีโอพัตราแห่งไอยคุปต์จึงมีถึง 7 พระองค์ ส่วนองค์ที่เราจะได้รับรู้เรื่องเบื้องลึก

ของพระนางในวันนี้เป็น ราชินีคลีโอพัตราองค์สุดท้าย พระนางทรงเป็นราชธิดาของฟาโรห์ออลีตีส

พระนางคลีโอพัตราในความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไปคือพระราชินี้ผู้ทรงเสน่ห์ที่สุด มีรูปโฉมที่งดงาม

เพียบพร้อมไปด้วยกลเม็ดเด็ดพรายในเชิงพิศวาส ที่สามารถมัดใจชายผู้เป็นยอดนักรบที่กล้าแกร่งให้มาซบอยู่

ตักได้ถึงสองคนในเวลาใกล้เคียงกันแต่แท้ที่จริงแล้ว เสน่ห์ของพระนางคลีโอพัตราไม่ได้อยู่ที่เนื้อหนังมังสาหรือความงดงามแห่งใบหน้าและเรือนกายเลย แต่อยู่ที่สติปัญญาและความเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันคนต่างหาก



"วาจาท่าทางแห่งมนต์เสน่ห์อันล้ำลึก"

การที่เราเข้าใจกันว่าพระนางมีเสน่ห์อันล้ำลึกยั่วยวนใจชายจนเหลือกำลังนั้นเป็นผลมาจากภาพของพระนาง

คลีโอพัตราที่เราเห็นจากภาพยนตร์ที่สร้างมาจากบทละครอันลือลั่นของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ ชื่อเรื่อง " แอนโทนี

คลีโอพัตรา " นั่นเอง และยิ่งละครและภาพยนตร์ยิ่งดังเท่าไรผู้คนก็พากันเชื่อมั่นว่าพระนางคลีโอพัตราจะต้องเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดเท่านั้นแต่จากหลักฐานที่นักเขียนชีวประวัติลือนามอย่าง" พลูตาร์ค " ได้เขียนถึงพระนางคลีโอพัตราไว้ว่า " เราได้รับคำบอกเล่าว่า ความงามของคลีโอพัตรานั้นมิใช่งามเลิศไร้ที่ติจนดึงดูดสายตาของผู้พบเห็นในนาทีแรก แต่นางมีนางมีเสน่ห์อันใครต้านทานไม่ได้ มีบุคลิกแปลกและทรงอำนาจ จนทำให้ทุกวาจาและท่าทีของนางสะกดผู้คนให้ตกอยู่ในมนต์เสน่ห์อันนี้เอง "




Cleopatra & Caesar



"สติปัญญาอันชาญฉลาด"

ส่วนหลักฐานยืนยันสิ่งที่สองคือรูปสลักของพระนางที่วิหารแห่งอเล็กซานเดรียกับลูกนกบนเหรียญกษาปณ์ที่

ทำขึ้นในสมัยนั้น ภาพของพระนางคลีโอพัตราคือหญิงสาวที่มีเรือนร่างอันอวบอ้วนใบหน้ากลม ปากบางสวย

แต่มีจมูกที่ทั้งใหญ่และงุ้มแม้ว่ารูปโฉมของพระนางคลีโอพัตรา ราชินีแห่งไอยคุปต์จะไม่เหมือนอย่างที่เราเคยรับรู้ แต่บุคลิกและเอกลักษณ์ของพระนางที่เลอค่ามากกว่ารูปโฉมจนกลายเป็นเสน่ห์ที่มั่นคงและมากขึ้นตามอายุไข นั่นก็คือ สติปัญญาและความรอบรู้พระนางทรงเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์รอบรู้เรื่องรัฐศาสตร์และหลักการปกครองอันเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถพูดได้ถึง 6 ภาษา รวมทั้งยังเก่งเรื่องอักษรศาสตร์และศิลปศาสตร์ เพราะตลอดเวลา 22 ปีที่ทรงครองบัลลังก์อยู่ พระนางแต่งโคลงกลอนไว้มากมายรวมทั้งให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูศิลปกรรมสาขาต่างๆ มากมายด้วยความเก่งกาจของพระนางคลีโอพัตราที่มีอยู่มากมาย ทำให้ฟาโรห์ผู้เป็นพระราชบิดาของพระนางแต่งตั้งให้พระนางขึ้นครองราชบัลลังก์คู่กับพระองค์ในปี 52 ก่อนค.ศ. และพระนางก็สามารถบริหารราชการบ้านเมืองคู่พระบิดามาได้ด้วยความเรียบร้อย จนเมื่อพระบิดาสวรรคต ความทุกข์ความขมขื่นในชีวิตของพระนางก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อตามธรรมเนียมไอยคุปต์ ที่สืบทอดบัลลังก์กันทางผู้หญิง โดยที่ราชธิดาของฟาโรห์จะได้รับการตระเตรียมเพื่อ



เป็นราชินีโดยที่จะต้องแต่งงานกันในระหว่างพี่น้อง

พระนางคลีโอพัตราจึงหนีไม่พ้นกฎเกณฑ์ข้อนี้ พระนางถูกวางตัวให้อยู่ในตำแหน่งาชินีและต้องแต่งงานกับฟาโรห์ปโตเลมีที่ 13 น้องชายของพระนางเอง แต่โชคร้ายที่พี่น้องคู่นี้เกลียดกันถึงขนาดต้องการจะฟาดฟันให้ตายกันไปข้างหนึ่งทีเดียว ผู้เป็นน้องชายจึงจ้องจะหาทางกำจัดพี่สาว ส่วนพระนางคลีโอพัตราก็อยากจะกำจัดน้องชายเสียให้สิ้นเรื่อง แต่ในเวลานั้นพระนางยังไม่ทรงแน่ใจในอำนาจที่มีอยู่ในมือ จึงต้องเป็นฝ่ายล่าถอยออกจากเมืองอเล็กซานเดรียเพื่อไปตั้งหลักพระนางเริ่มมองหาพันธมิตรเพื่อช่วยเหลือในการกำจัดฟาโรห์ออกจากบัลลังก์ให้ได้ ซึ่งเป็นช่วงประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ที่โรงเริ่มรุกรานดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยมี จูเลียส ซีซาร์เป็นแม่ทัพยกมาทางอียิปต์ พระนางเห็นเป็นจังหวะเหมาะถึงจึงลอบเข้าเมืองเพื่อไปหาซีซาร์มาถึงตอนนี้ที่เราเห็นในภาพยนตร์คือพระนางคลีโอพัตราซ่อนร่างอยู่ในม้วนพรมแล้วให้ทาสแบกเข้าไปในวังที่ซีซาร์พัก เมื่อคลี่พรมออกก็ปรากฏเรือนร่างเปลือยเปล่าของพระนางออกมาร่ายรำแต่จริงๆ แล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่

แต่เป็นเพราะการเจรจาที่ฉลาดเฉียบแหลมทางสติปัญญาของพระนางต่างหากที่ทำให้ จูเลียต ซีซาร์ ยอมช่วย



ราชินีไอยคุปต์ให้ได้ครองบัลลังก์ แต่เพียงผู้เดียว

ซีซาร์บัญชาการทหารให้ทำลายล้างกองทัพอียิปห์ที่ต่อต้านพระนางคลีโอพัตรา และการสงครามในครั้งนี้ซีซาร์ได้เผาเรือรบของตนตามแผนยุทธการ แต่บังเอิญไฟได้ลามไปถึงหอสมุดอเล็กซานเดรียไหม้ส่วนที่เป็นเอกสารสำคัญเหตุการณ์เพลิงไหม้ในครั้งนนั้นได้รับการขนามนามให้เป็น " ความทรงจำของมนุษชาติ " พอเพลิงสงบก็พบศพของปโตเลมีที่ 13 จมอยู่ในแม่น้ำไนล์ในชุดเกราะทองครบครัน และเล่าลือกันว่าพระนางคลีโอพัตรานั่นเองที่เป็นคนผลักลงไปเมื่อปราศจากผู้ครองนคร ซีซาร์ในฐานะที่ตีเมืองได้ก็ต้องแต่งตั้งผู้ครองนครขึ้นมา น้องชายอายุ 12 ปีของพระนางคลีโอพัตราจึงได้เป็นปโตเลมีที่ 14

ส่วนซีซาร์และพระนางคลีโอพัตราก็กลายเป็นคู่เชยคู่ดังแห่งยุคเมื่อซีซาร์ยกทัพกลับกรุงโรมได้ไม่นาน พระนางคลีโอพัตราก็ตั้งครรภ์ พระนางได้ตั้งชื่อพระโอรสว่า ปโตเลมีซีซาร์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า ซีซาร์เรียน พระนางพาโอรสมาเยือนกรุงโรมในปี 46 ก่อน ค.ศ. ตามคำเชิญของซีซาร์ซึ่งทำการต้อนรับพระนางอย่างยิ่งใหญ่ พระนางนั้นหวังว่าซีซาร์จะแต่งตั้งโอรสให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจ แต่ว่าจูเลียต ซีซาร์ก็ต้องมาถูกฆ่าตายกลางสภาในกลางเดือนมีนาคมปี 44 ก่อน ค.ศ. นั่นเอง ก่อนตายเขาได้แต่งตั้งหลานชายคือ อ๊อคตาเวีย ขึ้นครองกรุงโรม พระนางคลีโอพัตราจึงต้องพาโอรสกลับอเล็กซานเดรียด้วยความผิดหวัง



"ความรัก คลีโอพัตรา มาร์ค แอนโทนี่"

พระนางคลีโอพัตราเงียบหายไปหลายปีเพราะมัวยุ่งอยู่กับการฟื้นฟูอียิปต์และผูกไมตรีกับเพื่อนบ้านไม่ว่าจะ ยิว หรือ อาหรับ ในที่สุดอียิปต์ก็กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งจนกระทั่ง มาร์คุส อันโทนิอุส หรือ มาร์ค แอนโทนี ขุนพลของโรมันต้องส่งสารเชิญพระนางคลีโอพัตราไปพบเพื่อหารือขอความช่วยเหลือเมื่อพระนางไปพบ มาร์ค แอนโทนี่ ที่เมืองทาร์ซุส ความรักครั้งยิ่งใหญ่ก็บังเกิดขึ้นและดำเนินไปด้วยความหวานชื่น แต่ก็ให้เกิดเหตุบังเอิญเมื่อ ฟุลเวีย ภรรยาคนที่สามก่อกบฏ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้แก่อ๊อคตาเวีย

และโดนประหารในที่สุด แอนโทนีจึงต้องกลับบ้านและตกลงแต่งงานกับน้องสาวของอ๊อคตาเวียเพื่อสานสัมพันธ์กันใหม่พระนางคลีโอพัตราแทบคลั่งเมื่อได้ทราบการแต่งงานของชู้รัก ต่อมาพระนางก็ให้กำเนิดลูกแฝดแก่แอนโทนีและตั้งชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตราเซเลเน แล้วจู่ๆ มาร์ค แอนโทนี ก็ติดต่อมาอีกทั้งคู่จึงกลับมาคืนดีกันด้วยความหวานชื่นอีกครั้งทางด้านกรุงโรมก็กำลังวุ่นวายเมื่อรู้ว่าแอนโทนีกับคลีโอพัตราสนิทแนบแน่นกันนั้น อาจจะกำลังมีแผนการอย่างอื่นอยู่ อ๊อคตาเวียจึงเรียกร้องให้คลีโอพัตราส่งเสบียงกรังมาเป็นส่วย แต่แอนโทนีห้ามไว้



"สงครามอียิปต์"

เมื่อแน่ใจแล้วว่าแอนโทนีกำลังแปรพักตร์ไปเข้ากับอียิปต์ อ๊อคตาเวียจึงประกาศให้ชาวโรมฟังว่าแอนโทนีมี

แผนจะย้ายเมืองหลวงหรือก่อกบฎนั่นเอง แอนโทนีจึงประกาศว่าอ๊อคตาเวียไม่ใช่ทายาทที่ถูกต้อง แต่ซีซาร์เรียน

เท่านั้นที่เป็นทายาทตัวจริงของซีซาร์และมีสิทธ์ครองกรุงโรม อ๊อคตาเวียจึงเกลี้ยกล่อมสภาซีเนทของโรมให้เห็นถึงอันตรายของอียิปต์ภายใต้การปกครองของแอนโทนีและคลีโอพัตรา ในที่สุดโรมจึงประกาศสงครามกับอียิปต์ปี 31 ก่อน ค.ศ. กองทัพโรมันก็บ่ายหน้าสู่อียิปต์ มาร์ค แอนโทนียกกองทัพเรือออกไป โดยมีคลีโอพัตราลงเรือของเธอไปสังเกตการณ์ กองทัพของฝ่ายโรมันและอียิปต์เข้าโรมรันกันอย่างดุเดือด พระนางคลีโอพัตราตกพระทัย

ในศึกดุเดือดเบื้องหน้า จึงสั่งให้เรือของเธอกลับลำหนี เมื่อแอนโทนีหันมาเห็นเข้าก็ถอดเสื้อเกราะทิ้งแล้วแล่นเรือไล่ตามหลังพระนางมา การรบเป็นอันจบสิ้น รวมทั้งชีวิตของคนทั้งสองด้วย




Death of Cleopatra



"ความลับตลอดกาล"

เมื่อพบกับความพ่ายแพ้ มาร์ค แอนโทนี จึงฆ่าตัวตายในอ้อมแขนของพระนางคลีโอพัตรา ส่วนพระนางก็ดื่ม

ยาพิษฆ่าตัวตายตามคู่รักไป อียิปต์จึงตกเป็นของโรมันตั้งแต่นั้นมาหลักฐานของเหตุการณ์ต่างๆ ยังคงปรากฏให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติศาสตร์กันมาหลายยุคหลายสมัย แต่เว้นอยู่อย่างเดียวคือ ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะระบุสุสานของ มาร์ค แอนโทนี และ พระนางคลีโอพัตรา อยู่ที่ไหนความลับเกี่ยวกับที่เก็บศพของคู่รักบันลือโลกคู่นี้จึงยังเป็นความลับอยู่ตลอดมา




แหล่งข้อมูล : รวมเรื่องโบราณคดี

ไม่มีความคิดเห็น: