วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

... อีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาลปล่อยผีหลอน ๆ อย่าง "วันฮาโลวีน" คิดกันไว้บ้างรึยังเอ่ยว่าฮาโลวีนปีนี้ เราจะแต่งตัวเป็น "ผี" อะไรกันดี??? ...


หลายคนอาจจะมองว่าวันฮาโลวีน เป็นเทศกาลของต่างประเทศ ไม่ใช่เทศกาลของไทย แต่ถ้าเราจะร่วมสนุกกับเทศกาลนี้ก็คงไม่ผิดอะไรหรอกค่ะ หรือถ้ากลัวว่าจะเสียดุลต่างชาติล่ะก็ เราก็แต่งเป็น "ผีไทย" ก็ได้นี่คะ ผีไทยมีให้เลือกตั้งหลายแบบแน่ะ จะหลอนแบบไหนก็จัดไปให้เต็มที่เลย
ว่าแต่ถ้าจะพูดถึง "วันฮาโลวีน" แล้ว สิ่งนึงที่เรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ "ฟักทอง" ... อืม ว่าแต่ทำไมนะ ฟักทอง เกี่ยวข้องอะไรกับวันฮาโลวีนเนี่ย???
... เรื่องราวของฟักทองกับวันฮาโลวีนนั้น มีเรื่องราวเล่ากันมาจากนิทานปรัมปราขอ​งชาวไอริชที่เล่าถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ "ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก" แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง "การหยุดยั้งความชั่ว" Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลนี้เอง
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับ ซาตานกำลังจะไปรับวิญญาณของคนเจ้าเล่ห์ที่ชื่อว่าเเจ็ค (อีกแล้ว) แจ๊คจึงชวนให้ซาตานดื่มเหล้าด้วยกัน และหลอกล่อให้ซาตานแปลงร่างเป็นเหรียญเพื่อนำไปจ่ายค่าเหล้า และแจ็คก็นำเหรียญนั้นไปใส่รวมไว้กับไม้กางเขน ทำให้ซาตานแปลงกลับมาเป็นร่างเดิมไม่ได้ ซาตานจึงต้องสัญญากับเเจ๊คว่าจะไม่มายุ่งกับเขาอีกเป็นเวลาหนึ่งปี และถ้าเขาตายเมื่อไหร่ ซาตานก็ไม่มีสิทธิเอาวิญญาณของเขาไป จากนั้นหนึ่งปีผ่านไป ซาตานก็กลับมาอีก คราวนี้เเจ็คหลอกล่อให้ซาตานปีนไปเก็บแอปเปิ้ลบนต้น และแอบสลักรูปกางเขนไว้บนต้นแอปเปิ้ล ซาตานจึงลงมาไม่ได้ และถูกบังคับให้สัญญาอีกตามเคยว่าจะไม่มายุ่งกับแจ๊คไปอีกสิบปี สิบปีผ่านไปนายแจ๊คตายลงแต่สวรรค์ก็ไม่ต้อนรับเพราะเป็นคนเจ้าเล่ห์ นรกก็ไปไม่ได้เพราะดันบังคับให้ซาตานสัญญาไว้ จึงต้องกลายเป็นวิญญาณเร่ร่อนมีเพียงก้อนถ่านที่ซาตานให้ไว้คอยส่องแสงนำทาง และเพื่อรักษาถ่านให้ส่องสว่างนานที่สุด วิญญาณของนายแจ็คจึงคว้านหัวผักกาดแล้วใส่ก้อนถ่านลงไป คนไอริชจึงเรียกผีแจ็กกับตะเกียงว่า Jack of Lantern (และเพี้ยนมาเป็น Jack O'Lantern) ต่อมาเมื่อถึงวันฮัลโลวีนชาวเมืองจึงทำตะเกียงแจ็กด้วยการแกะสลักหัวผักกาดให้เป็นหน้าตาน่ากลัว นำไฟใส่ไว้ด้านในเพื่อขับไล่ผีแจ็กและวิญญาณต​่างๆ จนภายหลังก็เปลี่ยนจากการใช้หัวผักกาดมาเป็นฟ​ักทองเพราะหาได้ง่ายกว่า
อ่อ! เรื่องราวก็เป็นอย่างนี้นี่เอง แหม!แต่ว่าเมืองไทยเราไม่จำเป็นต้องหาฟักทองมาทำ​เป็น Jack O'Lantern หรอกค่ะ เพราะบ้านเราไม่มีเทศกาลฮัลโลวีนเหมือนฝรั่งเค้า เราเอาฟักทองมากินกันดีกว่า เพราะฟักทองนี้เป็นที่รวมของสารอาหารต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ แถมยังต้านอนุมูลอิสระได้ด้วย แบบนี้นำมากินน่าจะดีกว่านะคะ

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ระย๊อง ระยอง งง ง~






















ไปเที่ยวระยอง ฮิ มา 5555+













หนุกหนานๆๆๆ
















ปาป๊า มาม้าใจดี ^^,,

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ภาษาฝรั่งเศส




ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Français, อังกฤษ French) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาภาษาแม่ (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน


ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และ สหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย

ประวัติ
ยุคเริ่มแรกภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ
หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุง
โรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวโกล


ยุคอาณาจักรแฟรงก์
หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา
จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษาในกลุ่มภาษาเยอรมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ราว ๆ ร้อยละ 15
ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง
นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก
Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl

ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่
นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี
พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ คือ "คำปฏิญาณแห่งทรัสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385
ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่างๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Richelieu) ได้ก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า L'Académie Française (อากาเดมี ฟรองแซส หรือ วิทยสถานแห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเปรียบได้กับราชบัณฑิตยสถานของไทย) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด หน้าที่สำคัญหน้าที่หนึ่งขององค์กรนี้ คือ การออกพจนานุกรม
ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดี


ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของ
ภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการของประเทศตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา
ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็น
ชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาราชการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวของ
รัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐ
นิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาราชการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาราชการของ
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์
ภาษาฝรั่งเศสในโลก
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการในประเทศต่อไปนี้


วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

จัดเก็บหนังสือ




วิธีจัดระเบียงหนังสือให้ง่ายต่อการใช้

· จัดเรียงตามประเภท เช่น นิยาย , สารคดี , การ์ตูน ฯลฯ
· จัดเรียงตามชื่อผู้แต่ง เพื่อที่จะให้สะดวกยิ่งขึ้นในการค้นหาก็ควรที่จะเรียงตามตัวอักษร
เรียงหนังสือให้ดูใหม่อยู่เสมอ
เรียงหนังสือตามแนวตั้ง วิธีนี้เหมาะสำหรับหนังสือปกแข็ง โดยให้นำหนังสือที่มีขนาดเท่ากันมาเรียงกันเป็นแถว ให้หันสันปกหนังสือออก หาผ้ามาคลุมสันบนของหนังสือเพื่อป้องกันฝุ่นด้วยนะจ๊ะ
เรียงหนังสือตามแนวนอน วิธีนี้เหมาะสำหรับหนังสือปกอ่อน โดยให้นำหนังสือที่มีขนาดเท่ากันมาวางทับกันในแนวนอน ให้หันสันปกออกเหมอนเดิม อย่าลืมวางกระดาษคั่นระหว่างหนังสือด้วยเพื่อป้องกันหนังสือติดกัน


วิธีรักษาหนังสือเล่มโปรดให้อยู่กับเราไปนานๆ

ห่อปก เป็นวิธีที่ต่ออายุการใช้งานหนังสือได้ดีวิธีหนึ่ง แต่ควรที่จะมีการตรวจสอบสก็อตช์เทปที่ติดอยู่ด้านในหนังสือเสมอว่ามีการละลายหรือไม่ หากมีการละลายควรที่จะแกะออกและเปลี่ยนใหม่ทันที เพื่อป้องกันคราบละลายของสก็อตช์เปื้อนหนังสือ

ใช้ที่คั่นหนังสือ ในเวลาที่อ่านหนังสือไม่จบ แทนการวางหนังสือคว่ำเพื่อป้องกันหนังสือแบะออกและหน้ากระดาษหลุดออกจากสันกาว
เก็บให้พ้นจากแสงแดด เพราะถ้าหนังสือถูกแสงแดดเป็นเวลานานจะทำให้หนังสือซีด กรอบ และชำรุดได้ง่าย
ทำความสะอาดอยู่เสมอ โดยใช้ไม้ขนไก้ปัดฝุ่นละอองที่เกาะขอบด้านบนและด้านล่างของหนังสือ หลังจากนั้นให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดอีกครั้ง ควรใช้ผ้าที่ไม่ชุบน้ำนะจ๊ะ
ควรเลือกตู้หนังสือที่มีกระจกกั้น เพื่อที่ช่วยกันฝุ่น แต่ถ้าอยากได้ตู้หนังสือที่ทำจากไม้ ควรที่จะเลือกไม้เนื้อแข็ง เพื่อช่วยป้องปลวกและแมลงอื่นๆ

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

มี 8 คำอันตราย ที่น้องๆเตรียมแอดมิชชั่น ไม่ควรเอ่ยออกมาเด็ดขาด!!



คำที่ 1. เดี๋ยวก่อนก็ได้


คำที่ 2. ช่างมันเหอะ


คำที่ 3. เอาไว้พรุ่งนี้


คำที่ 4. พอแล้วหล่ะ


คำที่ 5. เอาไว้อ่านม.6


คำที่ 6. เรายังไม่พร้อมเลย รอก่อนดีกว่า


คำที่ 7. อือๆ โอเค [เวลาเพื่อนชวนไปเที่ยว]


คำที่ 8. อือๆ ไม่เป็นไร [กรณีอ่านแล้วไม่เข้าใจ แล้วข้ามผ่านไปเลย]




***ขอบคุณที่มา เว็บDek-D




มี 8 คำอันตราย ที่น้องๆเตรียมแอดมิชชั่น ไม่ควรเอ่ยออกมาเด็ดขาด!!