วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

เลือกให้ดี เลือกให้เป็นหลักสูตรนานาชาติ


การเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามีหลายทางเลือกให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือผู้มีวุฒิเทียบเท่าได้เลือกสอบเข้าเรียน ทั้งสอบตรงเข้าคณะในมหาวิทยาลัยที่อยากเรียน หรือสอบแอดมิชชัน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการสอบแบบใด หนึ่งในนั้นจะมีหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งนักเรียนที่สนใจอยากที่จะเข้าเรียนในวิชาที่เป็นภาษาอังกฤษนั้น บางรายยังสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าหากเข้าเรียนแล้วจะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป



บรรยากาศการเรียนการสอนในเอสไอไอที


ศ.ดร.จริยา รัตนะรัต บรอคเคลแมน รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลถึงวิธีการเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติว่า ตัวเด็กต้องดูตัวเองก่อนว่าต้องการอะไร หากต้องการเพียงใบปริญญาระบุว่าจบหลักสูตรนานาชาติ จะเรียนที่ไหนก็ได้

“ยกตัวอย่างเช่นคณะบริหารก็เปิดสอนเป็นหลักสูตรภาษาไทยมาก่อนแล้ว และต่อมาก็เปิดเป็นภาคภาษาอังกฤษเขาก็ใช้อาจารย์ที่สอนหลักสูตรภาษาไทยนั่นล่ะมาสอน แต่สอนเป็นภาษาอังกฤษ หากเขาเชิญอาจารย์ไม่ประจำมาสอน คือเป็นผู้มีประสบการณ์มาสอน ตัวนักศึกษาก็ได้ความรู้ทางวิชาชีพมาด้วย
แต่สิ่งที่ขาดไปคือสิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง วิเคราะห์ได้ เขาได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมแบบไหน”

ในประเด็นที่หลายสถาบันการศึกษาเปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาเกิดความสับสนว่าควรจะเลือกเรียนในสถาบันการศึกษาใด ถึงจะคุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย

ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (เอสไอไอที) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่เปิดหลักสูตรนานาชาติทั้งๆ ที่ยังไม่มีความพร้อมกัน และบางแห่งมีหลักสูตรปกติซึ่งสอนเป็นภาษาไทยอยู่แล้วก็ไปเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษแล้วไปเรียกว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วควรเรียกว่าเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษมากกว่า

“หลักสูตรนานาชาติที่ดีในมุมของผมนี่ ต้องมีอาจารย์พร้อมสำหรับบริหารจัดการการเรียนการสอน ต้องมาดูแลตรงนี้โดยตรงเลย ไม่ใช่ว่าเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาไทยแล้วมาบริหารการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ ทำเหมือนกับว่าหลักสูตรนานาชาติเป็นพาร์ตไทม์ ซึ่งหลายๆ แห่งที่สอนวิศวกรรมศาสตร์ก็ทำแบบนี้

นี่คือสาเหตุที่ผมคิดว่าทาง สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)น่าจะมีเกณฑ์ในการเปิดเป็นหลักสูตรนานาชาติขึ้นมา แม้แต่หลักสูตรภาษาอังกฤษก็น่าจะมีเกณฑ์อะไรบ้างถึงจะยอมให้เปิดได้ ไม่ใช่คนอยากเปิดก็เปิดได้ทั้งหมดเลย หรือหลักสูตรนานาชาติ จะต่างกับหลักสูตรภาษาอังกฤษอย่างไรบ้างก็ต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจนออกมา”



ศ.ดร.จริยา รัตนะรัต บรอคเคลแมน รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล


ส่วนเรื่องค่าหน่วยกิตในการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติซึ่งสูงกว่าหลักสูตรภาษาไทยนั้น ดร.สวัสดิ์กล่าวว่า หากมีการจัดการเรียนการสอนดีอย่างแท้จริงแล้ว ในเรื่องของเนื้อหาทางวิชาการก็ไม่แตกต่างกัน และผู้เรียนก็มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า

“สิ่งที่ได้แตกต่างกันระหว่างเรียนที่ต่างประเทศกับเรียนหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย น่าจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม แน่นอนว่าไปเรียนที่ต่างประเทศผู้เรียนอยู่กับสิ่งแวดล้อมแบบนั้นก็ได้เรียนรู้วัฒนธรรมแบบประเทศที่ไปเรียนอยู่ด้วย แต่เรื่องวิชาการก็อย่างที่บอกล่ะว่าถ้าเรียนที่ที่ได้มาตรฐานแล้วไม่ต่างกัน

อย่างตอนนี้ไปเรียนที่อเมริกาผมคิดว่าไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านต่อปี แต่ถ้าเรียนในเมืองไทยก็ประมาณ 2 – 3 แสนต่อปี ตรงนี้เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งในการเลือกว่าคุ้มไหมที่จะไปเรียนต่างประเทศ และได้เรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้กลับมาของผู้เรียน”

ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่สุงกว่าหลักสูตรภาษาไทยนั้น ศ.ดร.จริยา ยกตัวอย่างการทำก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชามว่า ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชามประกอบด้วยเส้น ผัก และเครื่องประกอบอื่นจะเป็นไก่ เป็นหมู หรืออะไรก็แล้วแต่คนปรุง ซึ่งราคาไม่สูง แต่ถ้าจะทานก๋วยเตี๋ยวราดหน้าปลากะพงก็มีราคาสูง

“ถึงแม้จะเป็นก๋วยเตี๋ยวชนิดเดียวกัน อยู่ที่คนปรุงอีกล่ะว่าใช้วัตถุดิบอย่างไร ใช้ผักปลอดสารพิษหรือเปล่า ใช้หมูปราศจากสารเร่งเนื้อแดงหรือไม่ ซึ่งหากไม่ใช้ของมีคุณภาพเช่นนี้ก็ได้ก๋วยเตี๋ยวหน้าตาเหมือนกัน แต่ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไรก็เกิดจากวัตถุดิบทั้งนั้น เช่นเดียวกันค่าเล่าเรียนหากไปเรียนที่ต่างประเทศอย่างไปที่อเมริกาเดี๋ยวนี้คิดว่าเกิน 36,000 เหรียญต่อปีแล้ว ถ้าเลือกที่เรียนที่มีคุณภาพจริงๆ ในประเทศไทยก็ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า”

ทั้งนี้การเรียนการสอนแบบหลักสูตรนานาชาตินั้น ศ.ดร.จริยากล่าวว่าจะไม่ใช่การเรียนแบบท่องจำ จะเป็นการเรียนการสอนแบบเรียนให้เข้าใจแล้วสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ด้วยตัวเอง

“นศ.ที่มาเรียนในปีแรกจะต้องปรับตัว ถ้ามาจากรร.ไทยๆ ต้องปรับตัวมาก จากการท่องจำเป็นการทำความเข้าใจ เพราะการวัดผลไม่ได้วัดผลจากการท่องจำ แต่เป็นการวัดผลจากความเข้าใจ เพื่อให้นักศึกษาที่จบใหม่มาต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดใหม่เป็น ถ้าคุณท่องจำ พอคุณได้ปริญญาไปแล้วคุณก็ลืม นี่คือสิ่งที่ผู้ใหญ่พูดกันว่าเหมือนอัดอาหารเข้าไปแล้วคายออกมา ยังไม่ได้ย่อยเลย แล้วก็ลืม อาหารที่อัดเข้าไปไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย ไม่ได้ไปเป็นอาหารสมอง”



ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (เอสไอไอที) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ดร.สวัสดิ์กล่าวถึงเรื่องภาษาอังกฤษที่ใช้ในการเรียนนั้น ทุกสถาบันการศึกษาน่าจะมีหลักเหมือนกันในการคัดเลือกผู้เรียนเข้าศึกษา คือผู้ที่จะเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติหรือภาคภาษาอังกฤษควรมีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่บ้าง

“พื้นฐานภาษาอังกฤษนี่เอาแค่เพียงพอหรือพอเพียงที่จะเข้าเรียนได้ก็พอแล้ว พอเพียงคือพอที่จะฟังได้รู้เรื่อง คือฟังแล้วเข้าใจ แม้ว่าจะเรียนโรงเรียนไทยมาก็ตามก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องพูดภาษาอังกฤษได้แบบคล่องเปรี๊ยะ เหมือนผู้ที่เรียนโรงเรียนนานาชาติมา แต่ก็ต้องพอฟังได้รู้เรื่อง และเมื่อเข้ามาเรียนแล้วต้องขยันฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลา 4 ปีที่เรียนก็สามารถที่จะจบการศึกษาได้และภาษาก็จะดีไปด้วย”

ด้าน พรรัมภา ตลึงจิตร อดีตนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ (ภาคอินเตอร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าตัวเธอเองนั้นมีโอกาสได้งานทำก่อนใครๆ ที่เรียนมาพร้อมๆ กันด้วย 2 เหตุผล เหตุผลแรกก็คือการพยายามค้นหาตัวเองให้เจอก่อนว่าชอบงานอะไร และเมื่อค้นพบแล้วก็ต้องอดทนทำงานไปก่อนเพื่อที่จะเรียนรู้ระบบการทำงาน

“จบมาได้ประมาณสองปีแล้ว ก็เปลี่ยนงานมา 3 ที่แล้วค่ะ ตอนนี้ก็ได้ทำงานเป็น Regional Consultant ในบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นงานที่ตัวเองชอบแล้วก็ได้ใช้ภาษาด้วย ต้องบอกว่าตัวเองถือว่าได้งานเร็วนะหลังจากเรียนจบ เพราะพยายามหางานอย่างที่ตัวเองชอบจริงๆ

ตัวเองชอบภาษาก็เลือกงานที่ใช้ภาษา ตอนที่ได้งานทำส่วนหนึ่งก็เพราะว่าตัวเองพูดภาษาอังกฤษได้ อย่างตอนที่ไปสัมภาษณ์งาน คนที่สัมภาษณ์ก็บอกว่าโอกาสที่เราจะได้งานมีสูงกว่าคนอื่นเพราะว่าเราพูดภาษาได้ และเข้าใจในภาษาที่เขาสื่อสารด้วย

ต้องบอกว่าดีที่ตอนเลือกเรียน ตัวเองเลือกที่จะเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ภาคอินเตอร์ เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์แล้ว ก็ได้ภาษาด้วย ทำให้พอเรียนจบมาได้งานง่ายกว่าคนอื่นๆ”




ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

วิธีรับประทาน ไม่ให้ง่วงซึมหลังเที่ยง

หลายๆ คนพอหลังอิ่มแปล้จากมื้อเที่ยงแล้วจะรู้สึกขี้เกียจ เซื่องซึม สลบไสล เฉี่อยชาไม่อยากทำงาน ถ้าได้หลับซักงีบคงดีเยี่ยม ว่ากันว่าช่วงเวลา Twilight zone ที่จะเกิดอาการเช่นนี้ คือช่วงเวลาบ่างโมง - 4 โมงเย็น


- กินอาหารเช้าให้ถูกหลัก คือกินภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังจากตื่นนอน อาหารเช้าที่ดีจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีความสมดุลไปตลอดวัน แถมด้วยอาหารประเภทโปรตีนไขมันต่ำปริมาณเล็กน้อยในตอนเช้า และทุกมื้อระหว่างวัน เพราะจะให้พลังงานได้ยาวนาน เช่น ไข่ นมสักแก้ว โยเกิร์ต กับขนมปังธัญพืชปิ้งสักแผ่น

- กินอาหารเที่ยงให้พลังงานสูง ประกอบด้วยโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งโปรตีนจะกระตุ้นสารในสมองคือ catecholamines ที่จะทำให้คุณกระฉับกระเฉง ลองเลือกไก่ (ต้องทำให้สุกๆ ก่อน) อาหารทะเล เนื้อ เต้าหู้ ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ ผักต่างๆ เช่น บล็อคโคลี ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง และผลไม้สัก 1 ส่วน

- เลี่ยงสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีน บุหรี่ เพราะเป็นตัวทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดแกว่งไกว การดื่มกาแฟยังทำให้ปัสสาวะบ่อย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ร่างกายสูญเสียน้ำและระดับเกลือแร่

- ดื่มน้ำเปล่า เพราะน้ำเปล่าไม่มีแคลอรี ไม่มีไขมัน ไม่มีโคเลสเตอรอล แต่จะช่วยระบบการเผาผลาญไขมันและฟื้นชีวิตชีวาคืนพลังงานให้กับร่างกายด้วย น้ำยังช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ลำเลียงออกซิเจน ฮอร์โมน สารอาหาร ภูมิต้านทาน และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรตีนและเอนไซม์ที่จำเป็นต่ำระบบเมตาบอลิซึมด้วย

- หยุดแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้คุณรู้สึกเซื่องซึม เหตุผลคือร่างกายสูญเสียสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินบี (ไธอามีนและโพเลท) ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่สมองต้องการ

- เลือกกินเมื่อรู้สึกหิว ถ้า คุณรู้สึกเพลียให้กินผลไม้หรืออาหารที่มีส่วนผสมของธัญพืชต่างๆ แทน การกินของขบเคี้ยวที่มีน้ำตาลจะทำให้คุณกระชุ่มกระชวยเพียงชั่ววูบแล้วก็จะ หมดแรงลงอย่างรวดเร็ว ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงโซดาหรือน้ำหวานในช่วงบ่าย ของขบเคี้ยวแก้หิวเพื่อสุขภาพที่ขอแนะนำ เช่น คุกกี้ที่ผสมผลไม้ คุกกี้ผสมข้าวโอ๊ต องุ่นสักพวง โยเกิร์ต แครอท เซเลอรี ถั่วอัลมอนด์ เป็นต้น

- หลับตาสักงีบ ถ้าคุณรู้สึกง่วงมากจริงๆ อย่างเลือกที่จะดื่มกาแฟ แต่ลองหลับตาหรืองีบสัก 10-15 นาที ก็จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นมาก

- อยู่ห่างๆ อาหารไขมันสูง เช่น ชีส เนย มาการีน ครีม อาหารทอดทั้งหลาย เพราะจะมีแคลอรี่สูง ร่างกายต้องใช้พลังงานเผาผลาญมาก และจะทำให้คุณรู้สึกเฉี่อยชา

- ออกกำลังกาย เป็นทางที่ดีที่จะชาร์ตแบตเตอรี่คืนมาอีกครั้งให้ร่างกายตื่นตัว เมื่อรู้สึกเหนื่อยจนเอนเดอร์ฟินหลั่งในระดับสูง ก็จะช่วยให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งก็จะช่วยฟื้นพลังงานให้คุณ ลองง่ายๆ เดินรอบๆ สำนักงานสัก 10 นาที นั่งอยู่กับโต๊ะทำงานแล้วยืดกล้ามเนื้อ บิดบริหารร่างกายสักครู่ก็จะช่วยเพิ่มความตื่นตัวให้คุณได้พอควร

ที่มา สนุก.คอม

วิธีรับประทาน ไม่ให้ง่วงซึมหลังเที่ยง

หลายๆ คนพอหลังอิ่มแปล้จากมื้อเที่ยงแล้วจะรู้สึกขี้เกียจ เซื่องซึม สลบไสล เฉี่อยชาไม่อยากทำงาน ถ้าได้หลับซักงีบคงดีเยี่ยม ว่ากันว่าช่วงเวลา Twilight zone ที่จะเกิดอาการเช่นนี้ คือช่วงเวลาบ่างโมง - 4 โมงเย็น


- กินอาหารเช้าให้ถูกหลัก คือกินภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังจากตื่นนอน อาหารเช้าที่ดีจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีความสมดุลไปตลอดวัน แถมด้วยอาหารประเภทโปรตีนไขมันต่ำปริมาณเล็กน้อยในตอนเช้า และทุกมื้อระหว่างวัน เพราะจะให้พลังงานได้ยาวนาน เช่น ไข่ นมสักแก้ว โยเกิร์ต กับขนมปังธัญพืชปิ้งสักแผ่น

- กินอาหารเที่ยงให้พลังงานสูง ประกอบด้วยโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งโปรตีนจะกระตุ้นสารในสมองคือ catecholamines ที่จะทำให้คุณกระฉับกระเฉง ลองเลือกไก่ (ต้องทำให้สุกๆ ก่อน) อาหารทะเล เนื้อ เต้าหู้ ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ ผักต่างๆ เช่น บล็อคโคลี ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง และผลไม้สัก 1 ส่วน

- เลี่ยงสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีน บุหรี่ เพราะเป็นตัวทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดแกว่งไกว การดื่มกาแฟยังทำให้ปัสสาวะบ่อย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ร่างกายสูญเสียน้ำและระดับเกลือแร่

- ดื่มน้ำเปล่า เพราะน้ำเปล่าไม่มีแคลอรี ไม่มีไขมัน ไม่มีโคเลสเตอรอล แต่จะช่วยระบบการเผาผลาญไขมันและฟื้นชีวิตชีวาคืนพลังงานให้กับร่างกายด้วย น้ำยังช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ลำเลียงออกซิเจน ฮอร์โมน สารอาหาร ภูมิต้านทาน และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรตีนและเอนไซม์ที่จำเป็นต่ำระบบเมตาบอลิซึมด้วย

- หยุดแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้คุณรู้สึกเซื่องซึม เหตุผลคือร่างกายสูญเสียสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินบี (ไธอามีนและโพเลท) ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่สมองต้องการ

- เลือกกินเมื่อรู้สึกหิว ถ้า คุณรู้สึกเพลียให้กินผลไม้หรืออาหารที่มีส่วนผสมของธัญพืชต่างๆ แทน การกินของขบเคี้ยวที่มีน้ำตาลจะทำให้คุณกระชุ่มกระชวยเพียงชั่ววูบแล้วก็จะ หมดแรงลงอย่างรวดเร็ว ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงโซดาหรือน้ำหวานในช่วงบ่าย ของขบเคี้ยวแก้หิวเพื่อสุขภาพที่ขอแนะนำ เช่น คุกกี้ที่ผสมผลไม้ คุกกี้ผสมข้าวโอ๊ต องุ่นสักพวง โยเกิร์ต แครอท เซเลอรี ถั่วอัลมอนด์ เป็นต้น

- หลับตาสักงีบ ถ้าคุณรู้สึกง่วงมากจริงๆ อย่างเลือกที่จะดื่มกาแฟ แต่ลองหลับตาหรืองีบสัก 10-15 นาที ก็จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นมาก

- อยู่ห่างๆ อาหารไขมันสูง เช่น ชีส เนย มาการีน ครีม อาหารทอดทั้งหลาย เพราะจะมีแคลอรี่สูง ร่างกายต้องใช้พลังงานเผาผลาญมาก และจะทำให้คุณรู้สึกเฉี่อยชา

- ออกกำลังกาย เป็นทางที่ดีที่จะชาร์ตแบตเตอรี่คืนมาอีกครั้งให้ร่างกายตื่นตัว เมื่อรู้สึกเหนื่อยจนเอนเดอร์ฟินหลั่งในระดับสูง ก็จะช่วยให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งก็จะช่วยฟื้นพลังงานให้คุณ ลองง่ายๆ เดินรอบๆ สำนักงานสัก 10 นาที นั่งอยู่กับโต๊ะทำงานแล้วยืดกล้ามเนื้อ บิดบริหารร่างกายสักครู่ก็จะช่วยเพิ่มความตื่นตัวให้คุณได้พอควร

ที่มา สนุก.คอม

ติดตามเรื่องราวข่าวสารดีๆได้ที่ www.urrac.com/rangsit

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

10 อาชีพฮอตฮิตเรียนแล้วไม่ตกงาน

- สวนดุสิตโพลชี้ผลวิจัยล่าสุด บัญชี แพทย์ บริหาร คอมฯ วิศวะ ครองแชมป์ได้งานสูง
- ระบุเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตัวแปรในการตัดสินใจเรียน-เข้าสู่อาชีพ
- เผยโลกไร้พรมแดนสร้างโอกาสใหม่ แอนิเมชั่น-บันเทิง จุดพลุเส้นทางอินเทรนด์
- วงในกระตุ้นการตื่นตัว โลกเข้าสู่สังคมที่ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนล้วนต้องการการพึ่งพาและเชื่อมโยงกัน

การเปลี่ยนผ่านของโลกตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคสังคมเกษตร ยุคสังคมอุตสาหกรรม จนกระทั่งถึงยุคสังคมฐานความรู้ เมื่อยุคเปลี่ยนไปก็ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อุตสาหกรรม ตลอดจนโมเดลทางธุรกิจ

แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและการเข้าสู่อาชีพในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรนั้น "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดมานำเสนอ

สวนดุสิตโพลจับกระแส
อาชีพอิน-เอ้าท์เทรนด์

รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สวนดุสิตโพล ม.ราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ที่มีต่อสาขาวิชาที่เรียนแล้วจะได้งานทำ โดยสำรวจจากผู้ประกอบการผู้ใช้บัณฑิตที่กระจายตามสาขาวิชาต่างๆ, นักวิชาการที่มีความสำคัญในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติ, กลุ่มนายธนาคารซึ่งมีผลต่อการให้กู้ยืมเงิน, นักปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง ฝ่ายบัญชี หัวหน้าฝ่ายพัสดุการคลังนโยบาย ฯลฯ รวม 1,376 ตัวอย่าง

เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่ได้มองธุรกิจของตัวเองแค่วันนี้ แต่มองไปถึง 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อสะท้อนออกมาว่าคนกลุ่มนี้ต้องการคนทำงานประเภทใดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ม.ราชภัฎสวนดุสิตนำมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรต่างๆ

นอกจากนี้ เป็นการแนะแนวทางให้กับอาจารย์แนะแนว 200 กว่าคนทั่วปริมณฑล เนื่องจากครูแนะแนวจะต้องดูเรื่องการบริหารความเสี่ยงการบริหารอนาคต เพราะการแนะแนวต่อไปในอนาคตจะต้องประกันความเสี่ยงว่าเรียนแล้วจะต้องไม่ตกงาน และเพราะความต้องการแรงงานมีความเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของตลาด และภาวะเศรษฐกิจ

ผลการสำรวจ 10 อันดับสาขาที่หางานง่าย ได้แก่ อันดับที่ 1 การบัญชี 19.71% อันดับที่ 2 แพทยศาสตร์ 18.75% อันดับที่ 3 บริหารธุรกิจ 12.02% อันดับที่ 4 คอมพิวเตอร์ 10.10% อันดับที่ 5 วิศวกรรมศาสตร์ 10.10% อันดับที่ 6 การตลาด 8.65% อันดับที่ 7 นิติศาสตร์ 8.17% อันดับที่ 8 พยาบาลศาสตร์ 4.81% อันดับที่ 9 การจัดการ 4.33% และอันดับที่ 10 รัฐศาสตร์ 3.36%

รศ.ดร.สุขุม กล่าวเสริมว่า เหตุที่สาขาการบัญชีอยู่ในอันดับ 1 เนื่องจากการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารธุรกิจ การจัดการ การประกอบกิจการไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ต้องใช้บุคลากรทางด้านบัญชีทั้งสิ้น นอกจากนี้ หากธุรกิจมีนโยบายดีเท่าใดแต่ก้นถุงรั่ว หรือไม่มีการคิดเรื่องความคุ้มทุน ค่าใช้จ่าย ก็จบ

สำหรับแพทย์นั้นถือว่ามีการขาดแคลนบุคลากร แต่คนที่จะเรียนได้ต้องมีสติปัญญาที่ดี และต้องมีค่าใช้จ่ายในการเรียนที่สูงถ้าไม่ได้ทุนรัฐบาลซึ่งแพทย์และพยาบาลอยู่ในอันดับทอปเท็นตลอด ส่วนการตลาดหรือบริหารจริงๆ แล้วต้องยอมรับว่า ความต้องการด้านบุคลากรด้านการตลาดมีมาก แม้กระทั่ง มหาวิทยาลัยยังต้องมีฝ่ายการตลาดของตัวเองเพราะยุคของการแข่งขันมีมากขึ้น

ด้านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทำให้ต้องอาศัยคนกลุ่มนี้ สำหรับนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ด้วยความที่โลกอยู่ในยุคของการแข่งขัน การแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด เรื่องของกฎหมาย การปกครองเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ

โดยหากเปรียบเทียบผลวิจัยระหว่างปีที่ผ่านมากับปีนี้เห็นการเปลี่ยนแปลง คือ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์เดิมอยู่ต่ำกว่าทอปเท็น แต่ที่สามารถก้าวขึ้นอันดับทอปเท็นได้เชื่อว่าเป็นเพราะปัจจุบันเกิดกรณีความขัดแย้งที่ต้องอาศัยด้านกฎหมายมากขึ้น ในขณะที่ปีที่แล้วการเรียนสาขาสิ่งแวดล้อมมีความชัดเจนมากขึ้นก็ติดอยู่ในอันดับ

หรืออย่างเมื่อสองปีก่อน ในช่วงรัฐบาลของอดีตนายก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สาขาวิชาที่ขึ้นทอปเท็นก็จะเป็นเรื่องของบริหารจัดการ การจัดการองค์กร เพราะรัฐบาลเน้นเรื่องของธุรกิจ หรือถ้าเป็น 4-5 ปีก่อนเรื่องของไอทีมาแรงก็เป็นไอที เทคโนโลยีสารสนเทศ

อย่างไรก็ดี การทำโพลสำรวจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ เนื่องจากการศึกษาของไทยขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น หลังการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ไม่ว่าพรรคการเมืองใดได้ขึ้นเป็นรัฐบาลก็เชื่อว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายซึ่งส่งผลต่อการศึกษาอย่างแน่นอน

เช่น ถ้ารัฐบาลมุ่งไปเรื่องของอุตสากรรมหลักสูตรด้านอุตสาหกรรมก็จะเกิด หรืออย่างช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมุ่งเรื่องของการเงินธนาคารทำให้ธนาคารเกิดขึ้นหลายแห่ง หลักสูตรด้านการเงินธนาคารก็เกิด

หรือช่วงที่มีเรื่องของประชาธิปไตยคนก็มองว่าถ้าต้องการเรียนกฎหมายก็ควรเรียนที่ธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ หากหลังการเลือกตั้งเกิดรัฐประหารอีกนโยบายต่างๆ ก็ต้องเปลี่ยน อาชีพต่างๆ ที่จะเรียนก็จะมีผลเปลี่ยนแปลงไปด้วย

นิเทศ-ถา'ปัด-มัณฑนศิลป์-อักษร-พุทธ
เรียนหดเหตุเข้าอุตสาหกรรมยาก

รศ.ดร.สุขุม ยังได้แสดงความคิดเห็นถึงคณะหรือสาขาที่เรียนแล้วส่งผลต่อการหางานว่า ม.ราชภัฎสวนดุสิตยังได้นำข้อมูลคณะหรือสาขาที่เดิมเคยอยู่ในอันดับที่ได้รับความนิยมแต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมาสอบถามกับกลุ่มผู้ประกอบการในสาขาๆ นั้นถึงเหตุผล

โดยคณะที่เห็นการลดลง คือ นิเทศศาสตร์ ซึ่งมีการสอบถามกองบรรณาธิการของทั้งสำนักพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ พบว่าแม้ว่าปริมาณผู้เรียนจะมีมาก แต่คนในวงการไม่มีการเกษียณอายุการทำงานทำให้ตลาดแรงงานแคบ

ส่วนสถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ อักษรศาสตร์ ก็มีการเรียนลดลงโดยปริยายทั้งที่คนมองว่าภาษาไทยมีการใช้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันในตลาดมีสูงและสภาพเศรษฐกิจแบบนี้คนมองเรื่องของปากกัดตีนทีบมากกว่า ทำให้การมองเรื่องสุนทรียภาพและศิลปะลดลง หรือทางด้านพุทธศาสตร์ก็ได้รับผลกระทบแม้ว่าตลาดจะมองว่าคนขาดด้านจริยธรรมกันมาก แต่เรียนทางด้านนี้แล้วจบออกมาก็ไม่มีงานทำ

สำหรับการแก้ปัญหาในเรื่องของหลักสูตรหรือสาขาที่ได้รับความนิยมลดลงนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีกฎกำหนดไว้อยู่แล้วเมื่อครบ 5 ปีหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากหากไม่เปลี่ยนจะไม่ทันกับความต้องการของตลาด ดังนั้น วิทยาการความรู้ต่างๆ จะต้องสอนเพื่อวันนี้ไม่ใช่วันพรุ่งนี้

เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปัจจุบันมีครอบคลุมไปหลายเรื่องทั้งคมนาคม สื่อสารการท่องเที่ยว ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนการเรียน เพราะเป็นการเรียนเพื่ออนาคต หรือ นิเทศศาสตร์มีเรื่องของการสื่อสารนิเทศศาสตร์ก็ต้องปรับ นอกจากนี้ ยังต้องมีการจัดการความรู้ของแต่ละวิชาชีพ เพราะมีการเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา

รศ.ดร.สุขุม กล่าวเสริมในมุมมองของการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แล้วทำให้หางานทำยาก ว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จะส่งผลกระทบต่อการหางานทำของนักศึกษาถ้าในแง่ของสถาปัตยกรรมไทย ศิลปกรรมไทย มัณฑนาการ ฯลฯ เพราะมีปัจจัยเรื่องของความรีบร้อน งบประมาณแล้ว คอมพิวเตอร์เข้ามาชดเชยได้ แต่ชดเชยด้านสุนทรียภาพไม่ได้ เช่น ภาพของอาจารย์เฉลิมชัยที่ก๊อปมาขายกับภาพที่เขียนสด แรกๆ คนอาจจะนิยมภาพก๊อปแต่ถึงจุดหนึ่งคนจะเริ่มต้องการภาพที่วาดโดยอาจารย์เอง อย่างไรก็ตาม อาชีพที่เกี่ยวกับสุนทรียภาพถือเป็นอาชีพทำเงิน

การนำคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีมาใช้ ก็ยังต้องใช้คนเข้ามาสร้าง ใช้คนออกแบบ ใช้ความคิดของคน โดยเฉพาะถ้าเป็นการผลิตสินค้าเพื่อคนกลุ่มอายุ 40-50 ปีแล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการสุนทรียภาพ คอมพิวเตอร์ไม่สามารถชดเชยตรงนี้ได้

"เช่น แต่เดิมการสร้างบ้านจัดสรรมุ่งทำบ้านสไตล์ยุโรป แต่ตอนนี้กลับมาเป็นรีสอร์ทในเมือง ทำให้งานที่เกี่ยวกับการจรรโลงใจจึงเป็นอาชีพอมตะ แม้ว่า มหาวิทยาลัยอื่นๆ อาจจะมีเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยต่างๆ แต่ทำไมคนถึงยังอยากรู้ศิลปะของอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ว่าเขียนยังไง เพราะคนที่ต้องการความเป็นต้นกำเนิดเป็นคนที่มีอำนาจการซื้อ" รศ.ดร.สุขุม วิเคราะห์

ธรรมศาสตร์ชี้บัญชีแชมป์
แต่ต้องมีคุณภาพ-ได้ภาษา

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การที่ผลการสำรวจออกมาว่าบัญชีอยู่ในอันดับ 1 ของสาขาที่เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะปัจจุบันบัญชีอยู่ในภาวะขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ก็ต้องการบุคลากรทางด้านนี้ หรือแม้แต่ธุรกิจที่กำลังปิดตัวคนที่จะถูกเลิกจ้างเป็นคนสุดท้ายก็คือนักบัญชี ถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญมาก

นอกจากนี้ จากที่เคยคุยกับบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชียังพบว่าคนที่จบด้านนี้ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะบัณฑิตที่ผลิตจากมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ แม้ว่าจะมีการให้มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตป้อนสู่ตลาดมากขึ้น แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีนโยบายผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีเพิ่ม และยังเห็นว่าการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชนสามารถทำได้ ธรรมศาสตร์จึงมีเป้าหมายไปผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาโทและเอกในทุกสาขาวิชาแทน เพราะปริมาณบุคลากรของคณะมีจำนวนจำกัด และตลาดต้องการบัณฑิตที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาสูงขึ้น

ส่วนสาขาแพทย์ศาสตร์มีความจำเป็นแน่นอนอยู่แล้ว เนื่องจากยังไม่พอกับความต้องการโดยเฉพาะชนบท ส่วนวิชาชีพทางด้านกฎหมายก็มีความจำเป็นมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจปัจจุบันต้องมีนักกฎหมายมากขึ้น ซึ่งทั้ง 3 สาขาวิชานี้มีความสำคัญมากขึ้นทุกที

อย่างไรก็ดี นักบัญชีที่ตลาดต้องการ คือ นักบัญชีที่มีคุณภาพเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจุบันคนที่จะมาทำงานด้านบัญชีไม่ใช่มีแค่ความรู้ทางด้านบัญชีเท่านั้น ยังต้องมีองค์ความรู้ด้านภาษาที่ 2 และ 3 ด้วย เพราะปัจจุบันธุรกิจในไทยมีชาวต่างชาติมาลงทุนมากขึ้น ดังนั้น การรู้เรื่องของภาษาเป็นปัจจัยสำคัญทั้ง อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน และเชื่อว่าในอนาคตอาจจะขยายไปยังภาษาอื่นๆ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะจึงให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาที่ 2 และ 3 โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด ให้ทุนเรียนภาษากับนักศึกษาบัญชีระดับปริญญาตรี 50 ทุนเพื่อไปเรียนภาษาที่ 3 นอกจากนี้ ยังต้องมีความรู้เท่าทันการทำบัญชีทั้งไทยและต่างประเทศด้วย เนื่องจากปัจจุบันคนหนึ่งคนต้องมีความรู้ในหลายด้านมากขึ้น

ส่วนปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาปริญญาตรีต่างคณะหันมาเรียนปริญญาโทสาขาบัญชีมากขึ้น เพราะเป็นวิชาชีพเฉพาะ ต้องจบทางด้านบัญชีเท่านั้น ในขณะที่ในอดีตคนที่จบจากบริหารก็สามารถมาทำได้ เมื่อมีการออกพรบ.การบัญชี 2543 ทำให้คนที่ไม่เรียนด้านบัญชีต้องเรียนเพิ่ม

นอกจากนี้ ผู้บริหารหรือคนในสายอาชีพอื่นก็มองว่าการเรียนบัญชีทำให้เขามีความรู้ทางด้านการเงินอย่างลึกซึ้งซึ่งส่งผลต่อการบริหารงานของเขาได้ และทำให้รู้ว่าธุรกิจมีทิศทางแบบใด โดยคณะมีการเปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบัญชี (Master of Accounting Program) (MAP) ซึ่งเปิดรับผู้จบจากทุกคณะแต่จะต้องมาเรียนวิชาพื้นฐานที่กำหนดไว้เพิ่ม เช่น วิชาบัญชีการเงิน ต้นทุน ฯลฯ

รศ.เกศินี กล่าวเสริมถึงสถานการณ์บัณฑิตด้านบัญชีของธรรมศาสตร์ว่า จากข้อมูลของคณะพบว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีจบไปแล้วมีงานทำถึง 95% หลังจากจบการศึกษาไปแล้ว 4-5 เดือน ส่วนอีก 5% กำลังรองานหรือศึกษาต่อซึ่งมั่นใจว่านักศึกษาทุกคนมีงานทำทั้งหมด

จุฬาฯ มั่นใจวิชาการแน่น
ห่วงครองตน-ทนงาน-ภาษา-รอบรู้

รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ หัวหน้าภาควิชาพาณิชยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลสำรวจที่พบว่าบัญชีและแพทย์เป็นคณะที่จบแล้วมีอาชีพรองรับนั้นไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นแต่เกิดมาประมาณ 20 ปีแล้ว เนื่องจากทั้งสองอาชีพเป็นวิชาชีพที่คนจะทำได้ต้องจบทางมาโดยตรง นอกจากนี้ คนที่เรียนจบบัญชีไม่ใช่ต้องออกไปทำบัญชีอย่างเดียว แต่ยังสามารถไปทำงานเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีได้ด้วยทำให้สายงานขยาย

ส่วนบริหารแม้ว่าจะคนทำงานด้านนี้อยู่มากแล้ว แต่บริหารเป็นคณะที่กว้าง ไม่ว่าจะเป็นบริหารการตลาด การจัดการ ฯลฯ ดังนั้นจะต้องดูว่าที่มีอยู่มากเป็นเรื่องบริหารอะไร สำหรับนิติศาสตร์ และวิศวกรรมต้องบอกว่าสองวิชานี้เป็นวิชาชีพเหมือนกับแพทย์ศาสตร์

อย่างไรก็ตาม การจะเลือกเรียนคณะใดจะต้องมีอาชีพรองรับ ซึ่งการสร้างอาชีพให้กับนักศึกษา สำหรับจุฬาฯ ก็มีการช่วยนักศึกษาหางานทำด้วยการจัดจ๊อบแฟร์ต่างๆ และมีการเตรียมตัวนักศึกษาให้พร้อมกับการทำงาน เนื่องจากวิชาความรู้ไม่ใช่สิ่งที่น่าห่วงสำหรับนักศึกษา แต่สิ่งที่ห่วงคือการครองตน การสู้งาน ภาษาที่ 2-3 และความรอบรู้

ม.รังสิตเสริมความรู้
พัฒนา นศ.ก่อนทำงาน

สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การแสดงความคิดเห็นของม.รังสิตในเรื่องนี้มาจาก 2 ฐานะ คือในฐานะของผู้ที่ต้องรับคนทำงาน และเป็นผู้ผลิตบัณฑิตออกไป โดยมองว่าสายที่มีปัญหาด้านการหางาน คือ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เนื่องจากหากผลิตไม่ตรงกับวิชาชีพแรงงานหรือไม่เก่งพอก็จะหางานทำยาก เพราะจริงๆ แล้วตลาดแรงงานไม่ได้เต็มแต่ขาดคนเก่งเข้าไปทำงาน

เช่น นิเทศศาสตร์คนมองว่าตลาดเริ่มเต็ม แต่จริงๆ แล้วอุตสาหกรรมด้านนี้ของไทยยังขาดบุคลากรอยู่ เพราะการทำงานตรงนี้เป็นแบบระบบอาเสี่ย คนที่ทำจริงๆ มีอยู่ไม่กี่คน อย่างผู้กำกับดังๆ ทั้งสมัยก่อนและสมัยนี้ก็ยังมีอยู่ไม่กี่คน

นอกจากนี้ วงการวิชาชีพเหล่านี้อยากได้คนที่มีความรอบรู้ที่หลากหลายทำให้หลายมหาวิทยาลัยต้องมีการปรับตัวจากเดิมที่ฝึกงานไม่นานก็กลับไปเรียนต่อ ปัจจุบันก็มีการปรับให้มีการฝึกงานเพิ่มขึ้น บางแห่งใช้ชื่อว่าสหกิจศึกษาโดยให้นักศึกษาเข้าไปฝึกงาน 1 เทอมการศึกษา หรืออย่าง ม.รังสิต ก็ปรับจากการฝึกงาน 2 เดือนมาเป็นฝึกงาน 3 เดือน และมีการเพิ่มความรู้ให้กับนักศึกษาด้วยการสร้างกิจกรรมต่างๆ อย่าง สร้างหนังสั้น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ อย่างไรก็ดี ใช่ว่าการเรียนนี้จะส่งผลกระทบต่อการหางานทำ เพราะสายสังคมสามารถแจ้งเกิดและหางานทำได้ ถ้าเป็นสายสังคมทางด้านภาษา

ในขณะที่ถ้าเป็นพวกสายวิทยาศาสตร์ อย่าง วิทยาศาสตร์สุขภาพถือว่าไม่ปัญหาแน่นอนปิดประตูตกงานแน่นอน เพราะยังขาดแคลนอีกมหาศาล หรือแม้แต่ทัศนะแพทย์หรือกายภาพบำบัดปัจจุบันก็มีแนวโน้มโตขึ้นความต้องการก็สูง หรือพยาบาลปัจจุบันประเทศสวีเดน เนเธอร์แลนด์ ขอให้ทางม.รังสิตส่งนักศึกษาไปทำงานกับเขาให้ได้ปีละ 100 คน โดยให้ผลตอบแทนสูงจะเห็นว่าการขาดแคลนด้านนี้ไม่ใช่แต่ในไทยแต่ขาดแคลนทั่วซึ่งกลุ่นี้ถึงจะเรียนไม่เก่งก็ยังหางานทำได้

หรือพวกสาขาด้านวิทยาศาสตร์ไฮเทค อย่าง ไบโอเทค วิศวกรรม หรือคอมพิวเตอร์ไซน์ กลุ่มนี้ยังมีอัตราการเข้าทำงานไม่สูงมาก บางบริษัทต้องเข้ามาจองนักศึกษาก่อนที่จะจบการศึกษาด้วยซ้ำ ส่วนกลุ่มทางด้านศิลปะ อย่าง สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ปริมาณการจะได้งานทำขึ้นอยู่กับแต่ละคน อย่างไรก็ดี แนวโน้มของการทำงานของเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้มองเรื่องของการทำงานบริษัท แต่ชอบทำงานอิสระทำให้ปริมาณการได้งานทำอาจจะไม่สูงแต่กลุ่มนี้ไม่ได้ตกงานมีงานทำแบบแต่เป็นฟรีแลนด์เท่านั้นเอง

วงในชี้ 'สถาปัตย์-วิศวะ'
เงินน้อย งานหนัก วิ่งหาอาชีพอื่น

วิศวกร ยังเป็นอาชีพท็อปฮิตของเด็ก ม.ปลายทุกยุคสมัย เพราะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ถูกมองว่าทำเงินเช่นกัน เกือบทุกสถาบันมีการเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์อย่างแพร่หลาย เพราะได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี แม้ในความเป็นจริงตอนนี้ภาพรวมของตลาดก่อสร้าง ซึ่งเกี่ยวข้องแวดวงวิศวกรรมจะชะลอตัวไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นสาขาวิชาที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากทุกสถาบันจะมีนักเรียนแย่งกันสอบเข้าเป็นจำนวนมากทุกปี

อารยา เพ็งนิติ เลขาธิการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมางานของแวดวงวิศวกรรมเงียบไปมาก เห็นได้จากจำนวนงานที่เปิดประมูลก่อสร้างลดลง มาจากงบประมาณในการก่อสร้างของภาครัฐน้อยลง เศรษฐกิจถดถอย การบริโภคลดลง ภาครัฐเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้า ทำให้ไม่มีรายได้มาลงทุนโครงการใหญ่ๆ ทำให้ไม่มีเม็ดเงินหมุนเวียนมากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

ในทุกปีจะมีบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์จบใหม่ปีละประมาณ 5,000 คน แต่เมื่อไปสอบกับสภาวิศวกร เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นภาคีวิศวกร หรือสอบเลื่อนชั้น พบว่า ยังมีคนสอบผ่านไม่ถึงครึ่ง สะท้อนถึงคุณภาพของบัณฑิตว่ายังไม่เพียงพอกับที่ตลาดแรงงานต้องการ

อารยา กล่าวว่า ทุกวันนี้สถาบันการศึกษาผลิตบัณฑิตออกมาไม่สอดคล้องกับที่ตลาดแรงงานต้องการ เช่น โยธา ไฟฟ้ามีมากเกินไป เพราะตลาดก่อสร้างกำลังหดตัว ในขณะที่ตลาดแรงงานด้านวิศวกรยานยนต์ สิ่งแวดล้อม ปิโตรเคมี กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาสุดท้ายที่มีค่าตอบแทนสูงที่สุด ในยุคที่โลกกำลังให้ความสนใจเรื่องพลังงานทดแทน แต่ปัญหา คือ ยังมีสถาบันเปิดสอนไม่มากนัก เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง

"อาชีพที่ขาดแคลนมากตอนนี้ คือ ช่างเชื่อม ซึ่งมักเป็นเด็กที่เรียนจบอาชีวะ เพราะเป็นงานที่หนัก เด็กจึงไม่ค่อยให้ความสนใจ หันไปเรียนวิศวะ ไปทำงานออกแบบ ที่เหนื่อยน้อยกว่างานออกภาคสนาม" อารยา กล่าว

ในช่วง 5-10 ปีหลังวิศวกรจบใหม่ตัดสินใจหันเหชีวิตไปทำอาชีพอื่นแทนมากขึ้น เพราะมองว่าในแง่ค่าตอบแทนยังได้น้อยกว่าอาชีพอื่นๆ สมัยก่อนอัตราเงินเดือนบัณฑิตจบใหม่เริ่มต้นที่ 12,000-14,000 บาท แต่ปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกิน 10,000-12,000 บาท

"ลักษณะงานที่หนัก เงินเดือนที่น้อยกว่าบางอาชีพอื่น ทำให้เด็กจบใหม่เปลี่ยนไปทำธุรกิจส่วนตัว หรือเรียน MBA แทน เพื่อทำงานด้านบริหารมากขึ้น ซึ่งมีรายได้มากกว่าเป็นวิศวกร 1.5-2 เท่า ยิ่งในช่วง 5-10 ปีหลังมีแนวโน้มแบบนี้เกิดขึ้นเยอะมาก เพราะเศรษฐกิจไม่ดี งานวิศวะมีน้อยลง ต้องแข่งขันสูง ก็ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพไปเลย" อารยาให้เหตุผล

อย่างไรก็ตามอารยาให้คำแนะนำถึงวิศวกรรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเติบโตในวิชาชีพนี้ว่า จะต้องเร่งพัฒนาทักษะด้านภาษา เพื่อให้พร้อมเข้าสู่การแข่งขันกับตลาดโลก ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการเปิดเขตการค้าเสรี หรือ FTA ขึ้น

ขณะที่อาชีพสถาปนิกเป็นหนึ่งในอาชีพดาวรุ่งเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนปี 2540 ที่อสังหาริมทรัพย์กำลังเฟื่องฟูสุดขีด ทำให้สถาปนิกมีงานออกแบบล้นมือ เกิดเป็นภาวะขาดแคลนบุคลากรของวิชาชีพนี้ แต่ภาพจริงของอาชีพสถาปนิก แม้ในอดีตจะถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ "ทำเงิน" แต่เมื่อบางคนได้เข้ามาสัมผัสจริง กลับกลายเป็นอาชีพที่บัณฑิตใหม่สถาปัตยกรรมศาสตร์กว่า 20-30% ไม่เลือกทำเพราะพบกับอาชีพอื่นที่เหนื่อยน้อยกว่า และให้ผลตอบแทนดีกว่า

ประกอบกับ สถาบันต่างๆ ผลิตบัณฑิตสถาปัตยกรรมออกมามากกว่าที่ตลาดแรงงานต้องการ ซึ่งเกิดมาจากกระแสวิชาชีพขาดแคลนในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ ทำให้หลายสถาบันอิงกระแส หันมาเปิดสอนมากขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปเศรษฐกิจเข้าสู่วงจรขาลง การลงทุนก่อสร้างไม่คึกคักเหมือนเมื่อก่อน ทำให้สถาปนิกหลายคนที่เรียนจบออกมาต้องตกงาน

สิน พงษ์หาญยุทธ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ทุกปีจะมีบัณฑิตจบใหม่กว่า 1,000 คน จาก 18-19 สถาบันที่ได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิก มีเพียงไม่ถึงครึ่งที่ทำงานในสำนักงานแบบเต็มเวลา ส่วนหนึ่งตัดสินใจเป็นฟรีแลนซ์ หรือศึกษาต่อปริญญาโททันที อีกส่วนหนึ่งหันเหไปทำอาชีพอื่นแทน

"ปัจจุบันสถาปนิกรุ่นใหม่ๆ หันมารวมกลุ่มเล็กๆ ทำงานแบบฟรีแลนซ์กันมากขึ้น เพราะคนรุ่นใหม่รักความเป็นอิสระ ไม่อยากผูกพันกับองค์กร อยากรับผิดชอบแค่เรื่องงานเพียงอย่างเดียว ซึ่งการรับงานอิสระคนจะมองว่าน่าจะเลือกรับงานที่ตัวเองพอใจได้ และได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่าการเป็นสถาปนิกประจำสำนักงานที่มีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว" สินกล่าว

สำหรับอัตราเงินเดือนของสถาปนิกจบใหม่ (ปริญญาตรี) เริ่มต้นที่ 12,500-15,000 บาท หรืออาจะขึ้นไปถึง 18,000 บาท ซึ่งสินบอกว่า เด็กสมัยนี้มองว่าน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะยาวอาจดูไม่มากเท่ากับการเลือกไปทำอาชีพอื่นๆ

เนื่องจากวิชาสถาปัตยกรรมสอนให้คนที่เรียนมีความสามารถหลายด้าน ทำงานได้หลายอย่าง ระยะหลังเด็กที่จบจึงหันเหไปทำอาชีพอื่นที่เกี่ยวกับการออกแบบแทนการเป็นสถาปนิก เช่น ทำแอนิเมชั่น ออกแบบพรีเซนเทชั่น ครีเอทีฟ เป็นต้น ซึ่งงานเหล่านี้เป็นงานที่กินระยะเวลาไม่มากเท่างานสถาปนิก และยังมีรายได้ดีกว่า

แม้จะมีบัณฑิตจบใหม่มากถึง 1,000 คนต่อปี แต่เมื่อถามถึงจำนวนเด็ก ม.6 ที่เข้ามาเรียนสถาปัตยกรรม ศาสตร์ สินบอกว่า ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะเมื่อเข้ามาสัมผัสจริงจะรู้ว่าอาชีพนี้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนสูงอย่างที่คาด พบว่าเด็กรุ่นใหม่ที่สนใจการออกแบบจะหันไปเรียนตกแต่งภายใน หรือออกแบบผลิตภัณฑ์มากขึ้นแทน

"ทุกวันนี้บัณฑิตจบใหม่มีเยอะ แต่งานที่มีรองรับไม่พอ และคุณภาพของบัณฑิตที่จบใหม่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทำงานคนตกงานมากขึ้น ยิ่งทุกวันนี้งานใหม่ๆ เข้ามาน้อยลง ช้าลง บางงานต้องอาศัยคนที่มีประสบการณ์ ทำให้คนใหม่มีโอกาสน้อย รวมทั้ง 3-4 ปีหลัง สำนักงานสถาปนิกเริ่มจะรับคนจบใหม่น้อยลง แต่พยายามเร่งที่จะเทรนคนเก่าให้มีความสามารถมาก

นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ทิ้งท้ายว่า หากคาดการณ์สถานการณ์ในปีหน้า คิดว่างานสถาปนิกคงมีไม่มากนัก จะอยู่ในลักษณะนิ่งๆ แต่ไม่ถึงกับหดหายไป เพราะการลงทุนยังคงมีให้เห็นอยู่บ้าง คนที่สามารถอยู่รอดได้ คือ คนพัฒนาทักษะตัวเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นที่ต้องการมากของตลาดแรงงาน

ดร.สุวิทย์ เคยกล่าวไว้ว่า ยุคนี้ความเหลื่อมล้ำไม่ใช่เกิดแค่คนจนกับคนรวย แต่เป็นความเลื่อมล้ำของคนที่รู้กับไม่รู้ แล้วคนรู้เอาเปรียบคนไม่รู้ได้ ต่อไปช่องว่างตรงนี้จะมากขึ้นมหาศาลระหว่างคนจนคนรวย คนรู้ไม่รู้ คนที่ได้โอกาสกับคนที่ด้อยโอกาส

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันโลกกำลังเดินเข้าสู่ "สังคมหลังฐานความรู้" ซึ่งเป็นยุคที่คนจะเชื่อมโยงกันอย่างกว้างขวาง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นยุคที่การแข่งขันมันต้องมีการ ร่วมไม้ร่วมมือ ร่วมแข่งร่วมค้า มีความร่วมมือทางสังคม และเป็นยุคที่เรียกร้องทุนนิยมที่ยั่งยืนมากที่สุด

ทั้งนี้ การศึกษาเป็นพื้นฐานของหาและการสร้างความรู้ ไม่ว่าจะสาขาอาชีพใดสิ่งสำคัญจึงอยู่ที่คุณภาพของคนในประเทศไทย ที่จะช่วยกันนำพาประเทศให้ก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้อง

************

โอกาสใหม่อาชีพอินเทรนด์

ขณะที่กระแสโลกเข้าสู่ยุคดิจิตอล ได้มีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้น สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ได้ตั้งคณะใหม่ รวมถึงหลักสูตรต่างๆ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานมุ่งสร้างความรู้ที่หลากหลายให้เกิดขึ้นจะเห็นได้ชัดในคณะนิเทศศาสตร์และแอนิเมชั่น ขณะเดียวกันผู้เรียนมุ่งหาความรู้ ความนิยมในต่างประเทศยังสูงลิ่ว

บันเทิง-แอนิเมชั่น นำโด่ง
ผุดหลักสูตรตอบโจทย์ตลาด

ปีเตอร์ กัน ประธานที่ปรึกษาหลักสูตร นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ในฐานะที่เป็นผู้คร่ำหวอดในวงการบันเทิงที่ผันตนเองโดยการนำประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดผ่านชั้นเรียน กล่าวว่า ปัจจุบันองค์ความรู้ผ่านช่องทางการศึกษา โดยเฉพาะนิเทศศาสตร์ได้มีการปรับตัวสนองตอบความต้องการของตลาดมากขึ้น พบว่าความนิยมในอาชีพบันเทิงสูงมากเติบโตตามอุตสาหกรรมภาพยนตร์และกระแสความนิยมจากสหรัฐอเมริกา

จะเห็นว่าเป้าหมายของการเปิดหลักสูตรดังกล่าวของ ม.กรุงเทพ ต้องการจะสร้างศักยภาพและดึงจุดเด่นของผู้เรียนให้มีมากขึ้น สอดรับกับการก้าวสู่โลกดิจิตอลเจาะกลุ่มตลาดแรงงานที่หลากหลายมากขึ้น นับเป็นโอกาสและความท้าทายที่วงการบันเทิงต้องสร้างบุคลากรใหม่เพื่อมาตอบสนองกลุ่มเป้าหมายให้ได้

หลังจากเปิดหลักสูตรดังกล่าวมา 1 ปี พบว่า อายุเฉลี่ยของนักศึกษาที่เข้ามาเรียนมีความหลากหลายตั้งแต่อายุ 20- 80 ปี ซึ่งแต่ละคนต่างมีประสบการณ์จากการทำงานในสาขาอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ใช่การแสดง แต่ทุกคนมุ่งหวังจะนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในธุรกิจของตนเพื่อบริหารจัดการศักยภาพของตนเอง เนื่องจากการแข่งขันในธุรกิจมีสูงหากองค์กรใดมีการจัดการอย่างชัดเจนย่อมทำให้เกิดรายได้มหาศาลกลับมา

"วันนี้โลกของการบริหารศักยภาพที่หลากหลาย สามารถนำมาปรับใช้ได้หลากหลายมาก ดังนั้นการเปิดหลักสูตรไม่ควรมองการเรียนรู้เพียงในประเทศแต่ต้องมองการสร้างมูลค่าระดับโลกเพื่อให้ธุรกิจของตนมีความยั่งยืน ขณะนี้มีการแข่งขันในการเปิดหลักสูตรนี้มากขึ้นส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมของไทยจะเติบโตในระดับโลก"

ปีเตอร์ ย้ำอีกว่า การพัฒนาทางเทคโนโลยีขณะนี้สามารถนำเงินซื้อมาได้แต่การสร้างศักยภาพการแข่งขันของคนในประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งต้องใช้เวลาและความอดทนเพื่อสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายต่อไปในการทำงานเพื่อให้เกิดศักยภาพที่หลากหลายในตัวบุคคล คือ การทำให้ผู้บริหารเปิดใจรับนวัตกรรมและอุตสาหกรรมควบคู่กัน

นันทวัฒน์ คานสุโข ผู้ช่วยผู้อำนวยการหลักสูตรแอนิเมชั่น คณะเอนเตอร์เทนเมนต์ มีเดีย มหาวิทยาลัยนานาชาติ มหิดล กล่าวถึง กระแสการตื่นตัวของนักศึกษาที่นิยมเรียนด้าน แอนิเมชั่น มากขึ้นเป็นผลจากการที่ตลาดแรงงานมีความต้องการบุคลากรด้านนี้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่เพียงในประเทศแต่สามารถออกไปทำงานในต่างประเทศได้

รวมถึงผลมาจากการได้ดูหนัง แอนิเมชั่น ที่คนไทยสร้างขึ้นเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้คนรุ่นใหม่อยากก้าวมาสู่อาชีพนี้ และผู้ปกครองเริ่มเปลี่ยนทัศนคติจากเดิมที่มองว่า อาชีพนี้ไม่สามารถเติบโตได้แต่ในช่วงหลังสื่อโทรทัศน์มีการสื่อสารผ่าน แอนิเมชั่น มากขึ้นเป็นผลให้นักศึกษาที่เข้ามาเรียนได้รับการส่งเสริมจากผู้ปกครอง และเครื่องมือในการสร้างสรรค์ แอนิเมชั่น มีความสะดวกขึ้นไม่ต้องใช้เครื่องมือที่สลับซับซ้อนเหมือนในอดีต

ขณะเดียวกันจุดอ่อนด้าน ภาษาอังกฤษยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บุคลากรของไทยยังขาด ซึ่งเป็นอีกความท้าทายที่คนทำงานในอาชีพนี้ต้องฝึกฝนให้มากขึ้น ซึ่งหลักสูตรการเรียนในมหาวิทยาลัยจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด

สำหรับช่องทางในการสร้างผลงานของอาชีพนี้ค่อนข้างมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการสร้างมิวสิกวีดีโอเพลง หรือสร้างเรื่องราวที่สามารถนำลิขสิทธิ์ของตัวละคนซึ่งคิดขึ้นมาไปผลิตสื่ออื่นๆ เพื่อให้เกิดมูลค่าอันมหาศาลหากมีการดีไซน์เอกลักษณ์เฉพาะตัวของตัวละครที่มีความโดดเด่น

อย่างไรก็ดี แนวโน้มของผู้ประกอบการในอาชีพนี้อนาคตขึ้นอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจเพราะการสร้างสรรค์เรื่อง แอนิเมชั่น สักเรื่องต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี เป็นผลให้ต้องใช้เงินทุนในการทำงานสูง ซึ่งในอนาคตหากเศรษฐกิจซบเซาอาจส่งผลให้อาชีพนี้ได้รับผลกระทบอย่าง แต่แนวทางแก้ไขกับปัจจัย ที่เกิดขึ้นผู้ที่เข้ามาเรียนต้องแสวงหาความรู้ด้านภาษาให้มากขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในอนาคตประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบแต่ประเทศอื่นๆ ในโลกอาจยังมีอัตราการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้น

เกาะกระแสเรียนต่อต่างแดน
ชี้ตัวเลขเด็กไทยนิยมมากขึ้น

จากข้อมูลสมาคมไทยแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ (สนต.) หรือ Thai International Education Consultants Association (TIECA) พบว่าปัจจุบันกระแสความนิยมในการเรียนต่อต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น หลายประเทศมีนโยบายเปิดรับนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น

โดยคนไทยถือเป็นนักศึกษาอีกหนึ่งกลุ่มที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่ละคิดเป็นมูลค่าหลักหมื่นล้านบาทและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะความเชื่อว่าการจบจากจากมหาวิทยาลัยดีๆ ดังๆ จะเป็นบันไดก้าวไปสู่ต่ำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีและเงินเดือนสูงๆ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากการที่การศึกษาในไทยยังไม่มีความหลากหลายทางวิชาการมากพอ

ประกอบกับ นอกจากภาษาที่ได้รับกลับมาแล้ว ยังได้ซึมซับระบบการศึกษาที่ดี ประสบการณ์ในการได้ฝึกงานจริงกับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ทำให้เมื่อกลับมาแล้วจึงมีโอกาสได้ร่วมงานในองค์กรชั้นนำในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งกลุ่มคนที่ไปเรียนแบ่งได้คร่าวๆ เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความตั้งใจศึกษาต่ออย่างจริงจัง และกลุ่มที่สอบเข้าเรียนต่อที่ไหนไม่ได้ จึงใช้การเรียนต่อต่างประเทศเพื่อเป็นการชุบตัว

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง แต่คาดว่าตัวเลขการเรียนต่อต่างประเทศของเด็กไทยจะโตขึ้น 7%จากปีที่แล้ว โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลดีจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า

นอกจากนี้ ยังพบว่าในช่วง 2-3 ปีนี้ เด็กไทยนิยมหันมาเรียนในประเทศแถบเอเชียมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการหลั่งไหลของกระแสวัฒนธรรมผ่านเพลง ละคร และภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี แต่ด้วยค่าครองชีพที่ค่อนข้างสูงกว่าในประเทศไทยมาก ทำให้ส่วนการไปเรียนต่อโดยเฉพาะที่ญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับกลาง

แต่ถ้ามองในเชิงธุรกิจ ความรู้และทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาจีนนับว่ามีความสำคัญและกำลังเป็นที่ต้องการมาก เพราะประเทศจีนเริ่มเจริญก้าวหน้าทำให้ธุรกิจของจีนเป็นที่จับตามอง ดังนั้น การใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารธุรกิจการค้าจึงมีความสำคัญมากขึ้น และทำให้ประเทศจีนเป็นอีกหนึ่งในประเทศเป้าหมายของนักศึกษา

ในขณะที่อินเดียก็ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศในเอเชียที่ได้รับความนิยมสูงมากในด้านไอที โดยมีนักเรียนไทยมักเดินทางไปเรียนที่เมืองบังคาลอร์ ซึ่งถือว่าซิลิคอนวัลเลย์ของเอเชีย แต่ถ้ามองในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือว่ามาเลเซียกำลังเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของประเทศไทย เพราะมีนโยบายภาครัฐสนับสนุนให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภูมิภาคเช่นเดียวกับประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมการเป็นเรียนต่อต่างประเทศเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับคนไทย โดยหลักสูตรที่นิยมเรียนคือ เอ็มบีเอ และไอที ส่วนเทรนด์ของการเรียนในปี 2551 จะเป็นเรื่องเอ็มบีเอ บริหารทรัพยากรมนุษย์ และโลจิสติกส์

เปิดเทรนด์ MBA
ตอบโจทย์ ตรงจุดธุรกิจ

สำหรับในประเทศไทย ดูเหมือนการเลือกเรียน MBA จะได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สถาบันหลายแห่งเปิดสอนกันอย่างคึกคัก ทั้งนี้เกิดจากทัศนคติที่มองว่า คนที่จบสาขานี้มีโอกาสเติบโตสูง รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อตลาดแรงงานได้ดีกว่า เนื่องจาก แม้ว่าผู้ที่จบมาทางด้านเฉพาะทาง เช่น วิศวกรรมศาสตร์หรือแพทย์

หากทำงานไปได้สักระยะหนึ่งจนก้าวเข้าสู่ระดับบริหาร ก็จำเป็นต้องอาศัยความรู้เรื่องการบริหารจัดการซึ่งเดิมทีคนส่วนใหญ่มักจะใช้ประสบการณ์มาใช้ในการบริหาร แต่เป็นวิธีที่ช้าดังนั้นการเรียนต่อจึงเป็นวิธีการที่ย่นเวลาได้มาก

บุริม โอทกานนท์ ประธานสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เทรนด์การเปิดหลักสูตรด้าน MBA จะมีลักษณะเฉพาะทางมากขึ้น เพราะแต่ละสถาบันต้องหาจุดเด่นของตัวเอง เพื่อสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการศึกษา โดยเน้นเจาะจงเป็นรายเซ็กเตอร์ของธุรกิจ

"สมัยก่อนมองว่าสาขาการตลาดเป็นของทุกคน ซึ่งความเป็นจริงในปัจจุบันเราจะสอนการตลาดแบบบุฟเฟ่ต์ไม่ได้ จะมาคาดหวังว่าเรียนการตลาด 1 ปี 8 เดือน แล้วสามารถทำให้นักศึกษาเป็นนักการตลาดที่สมบูรณ์ได้"

ยกตัวอย่างในกรณีของสาขาการตลาด ภาคธุรกิจต้องการคนที่จบมามีความรู้เฉพาะทางในด้านการตลาดโดยเฉพาะ เช่น การตลาดของธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจโรงพยาบาล ธุรกิจโลจิสติกส์ และต้องการระบบการศึกษาซึ่งสร้างคนที่สามารถปฏิบัติงานด้านการตลาดได้จริง (execution) ในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้ ไม่ใช่เรียนแค่คอนเซ็ปต์ทางการตลาดเท่านั้น

หรือแม้แต่สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งองค์กรธุรกิจต้องการนัก HR ที่ไม่ใช่แค่มองว่าจะสรรหาคนอย่างไร บริหารค่าตอบแทนคนอย่างไร กำหนด competency แบบไหน แต่จะต้องมองว่าจะบริหารจัดการคนที่อยู่ในองค์กรได้อย่างไร โดยนัก HR รุ่นใหม่ต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในเรื่องการจัดการมากพอสมควร และการเรียนในสาขานี้จะขยายตัวตามการเติบโตของบริษัทและอุตสาหกรรม

บุริม กล่าวอีกว่า เทรนด์การศึกษาของ MBA จะมีการสร้างสรรค์หลักสูตรใหม่ๆ ก่อให้เกิด "นวัตกรรมทางหลักสูตร" เช่น หลักสูตรเร่งรัด4 บวก1 (Fast Track) โดยระดับปริญญาตรีเรียนคณะอื่นที่ไม่ใช่บริหาร เช่น วิทยาศาสตร์ พอขึ้นปี 3 และปี4 ก็เริ่มเรียนวิชาของ MBA เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วก็เรียน MBA อีกหนึ่งปี จบแล้วจะได้ปริญญา 2 ใบ 2 ระดับ

หรือหลักสูตร Double Degree คือ การเรียนสองสาขาวิชาที่แตกต่างกัน โดยเอาวิชาเลือกหรือเลือกเสรีมาแลกกัน เมื่อจบแล้วได้ปริญญา 2 ใบ ในระดับเดียวกัน ปริญญาตรีกับปริญญาตรี หรือปริญญาโทกับปริญญาโท

และหลักสูตร Joint Degree คือ หลักสูตรที่ สองมหาวิทยาลัยมาร่วมกันร่างหลักสูตรขึ้นมาร่วมกัน เช่น ศศินทร์ฯ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Kellog ของอเมริกา เปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้นในประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีเทรนด์เรื่องการควบรวมหลักสูตรอีกด้วย เช่น วิศวกรรมทางการตลาด วิศวกรรมทางการบริหารจัดการ เป็นต้น แต่นวัตกรรมทางหลักสูตรยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย เนื่องจากติดข้อกฎหมายที่ยังไม่สนับสนุนเพียงพอ

ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเรียน MBA ส่วนใหญ่ผู้เรียนเรียนเพื่อต้องการยกระดับตัวเอง ทั้งระดับความสามารถและตำแหน่งหน้าที่การงาน เพราะจะทำให้สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้น มีการตัดสินใจที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ชื่อเสียงของสถาบันการศึกษายังคงเป็นปัจจัยอันดับแรกๆ ที่มีผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อ ซึ่งแสดงถึงความมั่นใจว่าจบแล้วไม่ตกงาน ส่วนเรื่องค่าเรียนไม่ค่อยมีผลต่อการตัดสินใจเรียนเพราะถือว่าการเรียนคือ การลงทุนที่ดีอย่างหนึ่ง เพื่อจะได้เจอสิ่งแวดล้อมใหม่และคอนเนกชั่นที่มากขึ้น

ที่มา : www.manager.co.th

วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552

การโรงแรม/การท่องเที่ยว เค้าเรียนอะไรกัน


สำหรับบทความนี้ก็เป็นบทความที่ 2 ของสถาบัน I-TIM แล้วนะครับ ซึ่งบทความที่แล้วทางสถาบันก็ได้กล่าวถึงอนาคตของการเรียนต่อด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว ว่ายังคงน่าเรียน และยังมีหนทางสู่อนาคตได้ก้าวไกลอยู่ เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่ติดระดับโลกอยู่มากมาย และยังได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยวจากสถาบันระดับโลกอีกหลายรางวัลในปีที่ผ่านมา

ในบทความนี้ก็จะมาแนะนำน้องๆ ถึงรายละเอียดคร่าวๆ ของวิชาทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ว่ามีสายใดบ้าง จบแล้วจะได้ทำงานอะไรได้บ้าง และมีโอกาสก้าวหน้าทางหน้าที่การงานอย่างไรบ้าง ซึ่งจะขออนุญาต ใช้หลักสูตรของสถาบัน I-TIM เป็นหลัก เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่ใกล้เคียงกับการเรียนด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวในต่างประเทศครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาเริ่มกันเลยครับ..



แผนกแรกซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากก็คือ
แผนกครัว (Kitchen Operations)




ในแผนกครัวของสถาบัน I-TIM น้องๆ จะได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติ เกี่ยวกับการทำอาหารยุโรปในทุกๆ ส่วนอย่างสนุกสนาน ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับสูง ทั้งในส่วนของครัวร้อน ครัวเย็น และเบเกอรี่ โดยน้องๆ จะได้ลงมือทำจริงในทุกๆ ส่วน ตั้งแต่การจัดเตรียมอาหารยุโรปชนิดต่างๆ การจัดทำเมนูอาหาร การจัดรูปแบบการนำเสนอ ฯลฯ เมื่อเข้าใจถึงภาคปฏิบัติทั้งหมดแล้ว น้องๆ ยังจะได้เรียนรู้ในส่วนของการบริหารจัดการด้านอาหาร และโภชนาการอีกด้วย ซึ่งจะสอนเกี่ยวกับทักษะ และกรรมวิธีในการประกอบอาหารอย่างถูกต้อง เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารในอุตสาหกรรมโรงแรมอย่างกว้างขวาง หลักโภชนาการ หลักการจัดเก็บควบคุมสโตร์ กรรมวิธีในการเตรียมก่อนปรุงอาหาร คำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในแผนกครัว โครงสร้างองค์กร เมนูพื้นฐาน เช่น เมนูอาหารประเภทเรียกน้ำย่อย สลัดประเภทต่างๆ ซุปประเภทต่างๆ เครื่องปรุงชนิดต่างๆ และการสาธิตการประกอบอาหารจานหลักชนิดต่างๆ ที่เป็นที่นิยม


สายงานในแผนกครัวโดยส่วนใหญ่ก็จะแบ่งตามลำดับขั้นดังนี้ครับ

1. กุ๊กใหญ่หรือหัวหน้าแผนกครัว (Head Chef or Executive Chef)
2. รองกุ๊กใหญ่หรือรองหัวหน้าแผนกครัว ( Second Chef or Sous Chef)
3. หัวหน้าครัวหรือหัวหน้าหน่วยในครัว (Section Chef หรือ Chef de Partie)
4. กุ๊กหมุนเวียน (Rellet Chef หรือ Chef Toumant) เชฟ ตูร์น็อง
5. ผู้ช่วยกุ๊ก (Commia Chef) คอมมีเชฟ
6. กุ๊กฝึกหัด (Apprentice หรือ Trainee Chef)


ในเรื่องชื่อ และจำนวนระดับชั้นของตำแหน่ง ในครัวแต่ละโรงแรมก็อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ขึ้นอยู่กับขนาดของครัวและขนาดของโรงแรมซึ่งแตกต่างกัน กับขึ้นอยู่กับเครือข่ายโรงแรม (Hotel chain) ที่บริหารโรงแรมแต่ละแห่งว่ามาจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรือฮ่องกง ซึ่งนิยมใช้ไม่เหมือนกันอีกด้วย

โดยส่วนใหญ่นักศึกษาที่จบจากสถาบัน I-TIM ก็จะได้เริ่มงานในสายครัวในตำแหน่งผู้ช่วยกุ๊ก หรือ คอมมีเชฟ เนื่องจากมีประสบการณ์ทำงานในสายงานครัวมามากกว่านักศึกษาจากสถาบันด้านการโรงแรมอื่นๆ และเมื่อทำงานนานขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปตามลำดับชั้นของตำแหน่งในครัว








แผนกที่สองคือ
การบริการในภัตตาคารครับ (Restaurant Service)
ซึ่งในแผนกนี้จะรวมถึงแผนกการผสมเครื่องดื่มด้วยครับ เพราะแผนกในโรงแรม จะรวมกันเป็น Food & Beverage (อาหารและเครื่องดื่ม) ครับ








ในแผนกนี้น้องๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะในการบริการ และนำเสนออาหารและเครื่องดื่มอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทราบและเข้าใจการบริการอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลายรูปแบบ รวมถึงการพับผ้าเช็ดปากหลากหลายรูปแบบ โดยน้องๆ จะได้ลงมือจัดห้องบอลลูมของสถาบัน I-TIM ให้กลายเป็นภัตตาคารจริง ไม่เฉพาะการจัดโต๊ะอาหารที่ถูกต้องตามหลักสากลเท่านั้น น้องๆ ยังได้เรียนรู้ถึงไอเดียการจัดตกแต่งภัตตาคารที่สวยงามอีกด้วย


สำหรับในด้านการบริการ น้องๆ จะได้เพิ่มพูนทักษะในการให้บริการตามสถานการณ์ภายใต้บรรยากาศจริงของภัตตาคาร ซึ่งน้องๆ จะได้เป็นผู้จัดการ ควบคุม ต้อนรับลูกค้า และให้บริการด้วยตนเอง ตลอดจนเรียนรู้ถึงเทคนิคในการบริหารจัดการ และฝึกฝนทักษะตามแบบมาตรฐานแบบสวิสเซอร์แลนด์


สำหรับในด้านการบริการ น้องๆ จะได้เพิ่มพูนทักษะในการให้บริการตามสถานการณ์ภายใต้บรรยากาศจริงของภัตตาคาร ซึ่งน้องๆ จะได้เป็นผู้จัดการ ควบคุม ต้อนรับลูกค้า และให้บริการด้วยตนเอง ตลอดจนเรียนรู้ถึงเทคนิคในการบริหารจัดการ และฝึกฝนทักษะตามแบบมาตรฐานแบบสวิสเซอร์แลนด์


ในด้านการปฏิบัติการเครื่องดื่ม จะสอนเกี่ยวกับโครงสร้างของการจัดการด้านเครื่องดื่ม และการให้บริการเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ในภัตตาคารของโรงแรม ทั้งประเภทที่มีแอลกอฮอลล์เป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องดื่มประเภทเรียกน้ำย่อย ดื่มก่อนอาหารและหลังอาหาร การผสมเครื่องดื่มประเภทค็อกเทล เรียนรู้เรื่องแก้วประเภทต่างๆ ที่ใช้กับไวน์และเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักสากลนิยม ตลอดจนการเรียนรู้เรื่องเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอลล์เป็นส่วนผสม เช่น ชา กาแฟ, น้ำอัดลม, น้ำผลไม้ และน้ำหวาน เป็นต้น นอกจากจะได้เรียนรู้ถึงชนิดของเครื่องดื่มประเภทต่างๆ แล้ว น้องๆ ยังจะได้เรียนรู้ถึงที่มา หรือแหล่งผลิตของเครื่องดื่มนั้นๆ หรือวิธีการผลิตที่แตกต่างกันจากชื่อของเครื่องดื่มแต่ละประเภทอีกด้วย





สายงาน และลำดับขั้น ด้านการบริการอาหาร และเครื่องดื่ม


1. ผู้จัดการห้องอาหาร (Restaurant Manager)
2. หัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ (ชาย Head Waiter/ หญิง Head Waitress หรือ Maltre d’Hotel หรือที่นิยมเรียกกันว่า Maltre D.) ซึ่งส่วนใหญ่จะดูแลควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้
- พนักงานเสิร์ฟอาวุโสประจำเขต (Station Waiter/ Station Waitress หรือ Chef de Rang)
- ผู้ช่วยพนักงานเสิร์ฟ (Commis Waiter/ Commis Waitress)
- พนักงานเสิร์ฟเหล้า (Wine Waiter/ Wine Waitress หรือ Sommellier ซอมเมอลิเยร์)
3. พนักงานเก็บเงิน หรือ แคชเชียร์ (Cashier)
4. พนักงานประจำบาร์ขายเหล้า (Bartender)









นอกจากนี้ยังมีแผนกที่ในโรงแรมส่วนใหญ่จะแยกออกมาจากแผนกอาหารและเครื่องดื่ม
นั่นคือ แผนกจัดเลี้ยง (The Catering Department)


แม้ว่างานของแผนกจัดเลี้ยงจะเป็นเรื่องบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มเหมือนกับแผนกอาหารและเครื่องดื่ม แต่ลักษณะของการทำงานมีส่วนแตกต่างกันอยู่ โดยแผนกอาหารและเครื่องดื่มจะดูแลห้องอาหารซึ่งเป็นการบริการแขกกลุ่มย่อยๆ ในขณะที่แผนกจัดเลี้ยงจะต้องเตรียมการและบริการคนครั้งละมากๆ จึงจำเป็นต้องให้การทำงานมีความคล่องตัว โรงแรมใหญ่ๆ โดยเฉพาะประเภทที่มีห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่และหลายห้อง ส่วนใหญ่จึงมักแยกแผนกจัดเลี้ยงออกเป็นอีกแผนกหนึ่งต่างหากจากแผนกอาหารและเครื่องดื่ม


ในงานสายนี้ น้องๆ จะได้พบปะผู้คนใหม่ๆ อยู่เสมอ ได้พัฒนาทักษะทางภาษา ได้เรียนรู้ทักษะการให้บริการอย่างมืออาชีพ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และทักษะในการสร้างความประทับใจ สำหรับการเสริฟอาหารแต่ละมื้อให้กับแขกอย่างดีที่สุด นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมในการรับประทานอาหาร และความต้องการที่แตกต่างกัน ของแต่ละชนชาติอีกด้วย


ต่อมาคือ
งานบริการส่วนหน้า (Front Office)


การบริหารจัดการงานต้อนรับส่วนหน้า ถือว่าเป็นแผนกที่สำคัญมากๆ อีกแผนกหนึ่ง เพราะถือเป็นด่านหน้าของโรงแรม ที่แขกที่จะเข้าพัก จะได้เจอเป็นที่แรก หรือถือว่าเป็น First Impression ของโรงแรมเลยทีเดียว กล่าวกันว่า ถ้าให้การต้อนรับดี ภารกิจของโรงแรมก็เหมือนกับเรียบร้อยไปแล้วครึ่งหนึ่งแต่ถ้าการต้อนรับไม่ดีก็เป็นการยากมากที่จะแก้ไขให้ความรู้สึกของแขกกลับเป็นดีได้





แผนกต้อนรับ หรือ สำนักงานส่วนหน้านั้นอาจเปรียบได้กับศูนย์รวมเส้นประสาท (nerve center) หรือศูนย์ประสานงานของโรงแรมทีเดียว และมีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการติดต่อประสานงานกับแผนกอื่นๆในโรงแรม ตัวอย่างเช่น ถ้าแขกมาบ่นหรือต่อว่า (หรือชมเชย) ที่แผนกต้อนรับ พนักงานต้อนรับจำเป็นต้องรีบส่งข่าวให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ในแผนกนี้สถาบัน I-TIM จะสอนให้เรียนรู้ขั้นตอน และระบบงานของงานฝ่ายต้อนรับส่วนหน้า เริ่มต้นจากกระบวนการรับจองห้องพัก จนถึงขั้นตอนวิธีการชำระเงินเมื่อแขกออกจากโรงแรม วิชานี้ยังครอบคลุมถึงส่วนประกอบต่างๆ และการตรวจสอบประสิทธิภาพของการบริหารจัดการงานส่วนหน้า ตลอดจนการวางแผน การบริหารงานบุคคล การประเมินผล การทำงานเป็นทีม และหลักการบริหารจัดการงานทั้งระบบในธุรกิจโรงแรม







สำหรับงานในสายนี้ก็จะมีในส่วนของ

1. ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager)
2. พนักงานต้อนรับ (Reception)
3. พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone Operator)
4. เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก (Reservations Clerk)
5. พนักงานแคชเชียร์ (Cashier)

บุคลากรที่ทำงานในส่วนนี้ ยังต้องสามารถให้ข้อมูลทั่วๆ ไปเกี่ยวกับโรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยว หรือสิ่งอำนวยความสะดวกใกล้เคียงแก่แขกได้อีกด้วย หรือทำหน้าที่เป็น guest relation service เช่นให้ข้อมูลข่าวสารอื่นๆ การนำเสนอห้องพักให้แขก นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ในการเจรจาต่อรองกับแขกเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้กับโรงแรม ต้องเรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
งานในส่วนนี้จะสนุก และท้าทาย ที่ได้เจอกับสถานการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ ได้พบกับคนหลายรูปแบบ และยังได้รับความรู้ในด้านการบริหารจัดการ และยังมีความโดดเด่นในเรื่องการพัฒนาทักษะทางภาษาอีกด้วย










แผนกแม่บ้าน (Housekeeping)

ในส่วนนี้ จะสอนเกี่ยวกับภาคปฏิบัติการในห้องพักแขก ซึ่งสถาบัน I-TIM จะมีห้องจำลองของโรงแรมระดับ 5 ดาวให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ ห้องซักรีดและพื้นที่สาธารณะในโรงแรม น้องๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำเตียง การปูเตียง การดูแลรักษาพรม ห้องน้ำ ขั้นตอนในการตรวจเช็คห้องพักแขก และการบริการในส่วนของพื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้ยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาพื้นผิวประเภทต่างๆ การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และการใช้เครื่องมือประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี ตลอดจนการทำความสะอาดพื้นที่นอกตัวอาคาร นอกจากนี้ ยังจะได้เพิ่มพูนประสบการณ์ จากการซักรีดชุดปฏิบัติการของแผนกครัวและส่วนบริการภัตตาคาร ตลอดจนถึงศิลปะในการจัดดอกไม้ อีกด้วย





ตำแหน่งงานในแผนกแม่บ้านโดยทั่วไปจะมีดังนี้


1. หัวหน้าแผนกแม่บ้าน (Executive Housekeeper)
2. หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper)
3. แม่บ้านประจำฟลอร์หรือผู้ช่วยแม่บ้าน (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper )
4. พนักงานดูแลห้องพัก (Room Attendant)
5. พนักงานยกของ/ทำความสะอาด (Housekeeper) ในเมืองไทยนิยมเรียกว่า cleaner
6. หัวหน้าห้องผ้า (Linen Room Supervisor)



แผนกแม่บ้านรับผิดชอบความสะอาดเรียบร้อยของที่พัก มีลักษณะเป็นงาน “หลังฉาก” เหมือนกับงานของแผนกครัว และแขกหรือผู้มาใช้บริการจะได้รับผลโดยตรงจากคุณภาพของงานทำนองเดียวกับแผนกครัวเช่นกัน แต่ผู้ทำงานแผนกนี้ออกจะมีกรรมอยู่สักหน่อย ตรงที่แขกมักจะคิดว่าการที่พักห้องสะอาดทางเดินและบริเวณใช้ร่วมต่างๆ ในโรงแรมสะอาด ตลอดจนผ้าปูที่นอน/ ปลอกหมอนสะอาดเป็นของธรรมดา คือไม่ค่อยได้สังเกตหรือชมเชย แต่ถ้าเกิดความไม่สะอาดขึ้นมาเมื่อใด แขกจะสังเกตเห็นทันที และจะตำหนิหรือต่อว่า เช่น ห้องพักไม่สะอาด ผ้าปูที่นอนไม่ได้เปลี่ยน หรือห้องน้ำสกปรก เป็นต้น และถึงแม้ว่างานของแผนกแม่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นงานหลังฉาก การติดต่อกับแขกก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น แขกมาถามว่าที่โรงแรมมีอาหารเจขายหรือไม่ ตอนแรกน้องๆ อาจจะคิดว่า “มาถามคำถามที่ไม่เห็นเกี่ยวกับงานแม่บ้านซักหน่อย” แต่ในฐานะพนักงานคนหนึ่ง จึงควรจะรู้เรื่องเกี่ยวกับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่โรงแรมจัดไว้ให้แขกมากพอที่จะตอบคำถามพื้นๆ ของแขกได้ ซึ่งในทางหนึ่งก็เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่แขกด้วย






ที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นแผนกหลักๆ ในสายการโรงแรมครับ ซึ่งในแต่ละวิชา ก็จะมีทั้งในส่วนของภาคการปฏิบัติงานแบบสวิสเซอร์แลนด์ และภาคบริหารจัดการแบบอเมริกันในทุกๆ ส่วนอีกด้วย

นอกจากนั้นก็จะเป็นวิชาอื่นๆ เกี่ยวกับการโรงแรมและการท่องเที่ยวที่น้องๆ จะได้เรียนครับ เช่น ด้านการจัดการ ด้านการท่องเที่ยว ทั้งในส่วนของการปฏิบัติการและการจัดการในองค์กร ด้านการขนส่ง ด้านการบัญชี การตลาดและการขาย ด้านจิตวิทยาที่ใช้กับงานโรงแรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับงานโรงแรมและสายการบิน โดยจะมีเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยวล้วนๆ ครับ

ซึ่งในการเรียนในมหาวิทยาลัยปกติ อาจจะไม่ได้เรียนภาคปฏิบัติอย่างละเอียดในหลายๆ วิชาที่กล่าวมาข้างต้นนะครับ แต่ก็จะได้เรียนภาคทฤษฎี ในรายวิชาและแผนกใกล้เคียงกับที่กล่าวมานี้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ดีนะครับ เพียงแต่มีแนวความคิดในเรื่องของแนวทางการศึกษาต่างกันเท่านั้น

นอกจากนี้จะเป็นอีกส่วนของการเรียนการสอนที่แตกต่างกับที่อื่น และสำคัญมากๆ ของสถาบัน I-TIM นั่นก็คือการฝึกงาน ซึ่งโดยปกติ การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย จะมีการฝึกงานประมาณ 2-3 เดือน ในช่วงก่อนขึ้นปีที่ 4 หรือก่อนที่นักศึกษาจะจบ แต่ในสถาบัน I-TIM จะใช้หลักสูตรการโรงแรมแบบสวิส-อเมริกัน ซึ่งการเรียนด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวในต่างประเทศ จะมีระยะเวลาการฝึกงานที่ยาวนานกว่าในประเทศไทยมาก ในแต่ละปีจะฝึกงานอย่างต่ำเป็นเวลา 5 เดือน โดยน้องๆ สามารถเลือกฝึกงานได้ในแผนกที่มีความถนัด และสนใจ ในโรงแรมระดับ 5 ดาว บริษัทนำเที่ยว หรือสายการบิน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่ 2 นักศึกษาของสถาบัน I-TIM มีโอกาสฝึกงานในต่างประเทศได้ เป็นระยะเวลา 5เดือน-1 ปี ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับน้องๆ ที่สนใจศึกษาต่อทางด้านนี้ เพราะนอกจากจะเป็นประสบการณ์ที่ดีในระดับมาตรฐานสากลแล้ว ยังได้รับค่าตอบแทนที่สูงในระหว่างฝึกงานอีกด้วยครับ





ซึ่งนักศึกษาจากสถาบัน I-TIM มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูง เพราะได้เปรียบในเรื่องของภาษา และประสบการณ์ทำงาน ซึ่งเป็น 2 ปัจจัยที่สำคัญ ในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานของงานสายการโรงแรม และการท่องเที่ยว

ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าการฝึกงานเป็นส่วนสำคัญในการเรียนในสถาบันของเราครับ ดังนั้นในบทความหน้า จะเป็นบทความสัมภาษณ์ศิษย์เก่า ที่ได้ทุนไปฝึกงานในโรงแรมระดับ 6 ดาวของโลก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งน้องๆ จะได้ทราบถึงวิธีการเรียน และแนวทางการปฏิบัติตัว ในการเรียนสายการโรงแรมและการท่องเที่ยวอย่างละเอียดทีเดียวครับ

หากน้องๆ มีคำถามเกี่ยวกับการเรียนทางด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ในกระทู้ หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

สถาบัน I-TIM
0-2732-0170-3 กด 0 Hotline : 08-555-111-85
http://www.i-tim.ac.th/
e-mail : info@i-tim.ac.th
ยินดีตอบทุกคำถามครับ











ที่มาของข้อมูล :
ฝ่ายวิชาการ สถาบัน I-TIM (โรงเรียนการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวนานาชาติ)
www.thaihotelstaff.com ศูนย์กลางชาวโรงแรมและรีสอร์ททั่วไทย

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

คนไทย ติดสุรา อันดับ 1 ในโลก

นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น เปิดเผยถึงการเกิดอุบัติเหตุและการเตรียมพร้อมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่า สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนน ประเทศไทยยังครองอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ที่เกิดความเสียหาย และสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากการเกิดอุบัติเหตุ โดยมีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเฉลี่ยปีละ 6 แสนคน ในจำนวนนี้ 1 แสนคนกลายเป็นคนพิการ และเป็นภาระของรัฐ ส่วนความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้น หากคำนวณจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทย มีมูลค่าความเสียหายถึง 2 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.8% ของจีดีพี ซึ่งไม่นับคลื่นความทุกข์ ที่เกิดกับญาติ เพื่อนฝูง และคนรอบข้างของเหยื่อที่ประสบอุบัติเหตุ อีกทั้งพื้นฐานของคนไทย ไม่มีสำนึกด้านความปลอดภัย เป็นคนมักง่าย ไม่มีวินัย และเห็นแก่ตัว กลายเป็นรากเหง้าของปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะเกิดจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ไม่สวมหมวกนิรภัย



กระทั่งในปี 2547 จึงได้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุอย่างจริงจัง เริ่มต้นจากมาตรการสวมหมวกนิรภัย เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ จนถูกผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือจากหลายหน่วยงานประสานการทำงานเข้าด้วยกัน



“สอจร.ได้ร่วมกันวางยุทธศาสตร์ ซึ่งเรียกว่ายุทธศาสตร์ 5 E ประกอบด้วย

การบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement)

ให้การศึกษา (Education)

การช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Medical Service)

ด้านวิศวกรรมจราจร (Engineering)

ด้านการมีส่วนร่วม (Empowerment)



และจังหวัดขอนแก่น ก็เป็นต้นแบบของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ดำเนินการป้องกันและลดอุบิตเหตุทางถนนอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ 5 หลัก และในปี 2552 จะเพิ่มความเข้มข้นด้านการวิจัยและประเมินผล (Evaluation) ให้มากขึ้น” นายแพทย์วีระพันธ์ กล่าว



ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวถึง อุบัติเหตุจังหวัดขอนแก่น ว่า การเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ นับวันทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้บาดเจ็บเฉลี่ยวันละกว่า 200 คน ตายวันละ 2-3 คน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆ อยากให้ทุกคนที่ใช้ถนนร่วมกันอย่างระมัดระวัง เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา คนเดินถนนก็ต้องระวังรถ คนขับรถต้องไม่เมาแล้วขับ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร ซึ่งในเทศกาลสงกรานต์ปีที่ผ่านมา มีคนเจ็บเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งได้รับอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ เป็นคนเดินถนน 9% คนขับรถ 37% ผู้โดยสาร 19% จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนใช้รถ ใช้ถนนต้องมีวินัย และปฏิบัติตามกฎจราจร จะทำให้การเกิดอุบัติเหตุทางถนนลดลงได้



ทางด้าน นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น ในฐานะประธานคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางถนนในระดับจังหวัด (สอจร.) กล่าวว่า



ปัจจุบันคนไทย 1.8 ล้านคน หรือ ร้อยละ 4.1 และ เป็นประเทศที่มีคนติดสุรามากที่สุดในโลก เป็นสิ่งที่น่าห่วงมาก อีกทั้งการใช้รถจักรยานยนต์ก็เพิ่มมากขึ้น ขณะนี้ทั้งประเทศมีการใช้รถจักรยานยนต์ประมาณ 22 ล้านคัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน ก็เกิดจากการใช้รถจักรยานยนต์มากที่สุด รองลงมาคืออุบัติเหตุจากรถยนต์โดยสารสาธารณะ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 100 คัน เป็นอุบัติเหตุหมู่ มีทั้งคนเจ็บ พิการ ตาย ซึ่งรถเหล่านี้หลังเกิดอุบัติเหตุมักจะพบว่า ไม่มีถังดับเพลิง ไม่มีฆ้อนทุบกระจก ประตูฉุกเฉินล็อค โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะสองชั้น การต่อเติมไม่มีความมั่นคงแข็งแรง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้โดยสารที่นั่งอยู่ชั้นสอง จะบาดเจ็บและเสียชีวิตมากที่สุด สอจร. มีเครือข่ายในการทำงานอยู่ในทุกจังหวัด ร่วมกันดำเนินการการป้องกัน และแก้ไข ปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางถนน



การใช้มาตรการ 3ม 2ข 1ร การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้น และการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน เอาใจใส่กับเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร เป็นการทำงานแบบบูรณาการงานในแนวราบ เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งผลที่เห็นก็คือความเสียหายลดลงชัดเจนความพร้อมรับมืออุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาล



นายแพทย์วิทยา กล่าวว่า โรงพยาบาลขอนแก่นพร้อมอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม อยากให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนทราบว่า หากเกิดอุบัติเหตุ จนมีผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน ขอให้นึกถึงการแจ้งเหตุกับทีมกู้ชีพ คือ 1669 ซึ่งขณะนี้มีหน่วยกู้ชีพระดับสูง 43 หน่วย ระดับพื้นฐาน 115 หน่วยขององค์กรปกครองท้องถิ่นกระจายทั่วทั้งจังหวัด มีบุคลากร 5 ระดับ ดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุทั้งสิ้น 3,241 คน มีรถพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 225 คัน เพราะการใช้ทีมกู้ที่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดจากความพิการและการเสียชีวิตได้สูง ซึ่งเป็นกระบวนการรักษาขั้นต้นก่อนถึงโรงพยาบาล นอกจากนี้ทางโรงพยาบาล มีลานเฮลิคอปเตอร์อยู่ชั้นบนของตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์กับผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งสามารถปฏิบัติการรักษาได้ทันที นอกจากนี้โรงพยาบาลขอนแก่น กำลังดำเนินโครงการ “โรงพยาบาลปลอดอุบัติเหตุ” โดยเจ้าหน้าที่จะคอยให้ความรู้ ด้านการป้องกันอุบัติเหตุ ให้กับผู้ป่วยนอกที่รอการรักษาพยาบาล ญาติผู้ป่วยที่มานั่งรอ และบุคคลอื่นๆ ที่เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาล เป็นการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุอีกทางหนึ่ง



ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552

Pâques

Pâques est une fête religieuse chrétienne commémorant la résurrection de Jésus-Christ, le troisième jour après sa passion[1]. C'est le jour le plus saint du calendrier chrétien. Il marque la fin du jeûne du Carême.

« Pâque », de l'hébreu פסח Pessa'h « il passa [par dessus] » d'où « passage », est le nom de la fête juive qui commémore la sortie d'Égypte. D'après les Évangiles, c'est pendant cette fête juive[2] qu'eut lieu la résurrection de Jésus ; c'est pourquoi le nom a été repris pour désigner la fête chrétienne. Le mot hébreu donne en latin Pascha dont dérive le mot français après amuïssement du s et remplacement de as par un â avec un accent circonflexe.

La forme « Pâque orthodoxe » est utilisée pour désigner cette fête dans les Églises orthodoxes. Pour les autres Églises, cette forme est vieillie et la forme avec « s » lui est préférée.




Date
Pâques et les fêtes qui y sont liées se déroulent à des dates variables du calendrier grégorien (qui suit le mouvement du soleil et les saisons). Les dates contemporaines de Pâques sont les dimanches 23 mars 2008, 12 avril 2009 et 4 avril 2010 du calendrier grégorien. En fait, elles sont basées sur le calendrier lunaire, comme celui utilisé par les Juifs pour fixer notamment la date de la Pâque juive.

Après le Ier concile de Nicée en 325, il fut décidé que le calcul de la date de Pâques se ferait selon une règle fixe. Ainsi, Pâques est célébrée le dimanche après le 14e jour du premier mois lunaire du printemps. Donc le dimanche après la première pleine lune advenant pendant ou après l'équinoxe de printemps. Dans la pratique, il est plus simple de revenir aux origines : Pâques correspond au premier dimanche qui suit la première pleine lune de Printemps. En revanche, la date peut varier suivant la longitude de la ville où l'on effectue l'observation. Les catholiques choisissent Rome.

Finalement, toutes les églises acceptèrent la méthode d'Alexandrie qui place l'équinoxe de printemps dans l'hémisphère Nord le 21 mars (alors que le vrai peut intervenir un ou deux jours avant ou après).

Un problème, apparu plus tard, est la différence des pratiques entre les églises occidentales et les églises orthodoxes. Les premières adoptent le calendrier grégorien pour calculer la date de Pâques, alors que les dernières utilisent toujours le calendrier julien originel. Le Conseil œcuménique des Églises proposa une réforme de la méthode de détermination de la date de Pâques lors d'un sommet à Alep (Syrie), en 1997. Cette réforme aurait permis d'éliminer les différences de dates entre église occidentales et orientales ; elle devait entrer en application en 2001, mais échoua.

Le calcul de la date de Pâques est assez complexe et connu sous le nom de Comput. Il existe des tables traditionnelles, mais aussi des algorithmes plus mathématiques pour la retrouver. La première méthode développée par Carl Friedrich Gauss avait quelques erreurs : en 1954 (la formule donnait le 25 avril au lieu du 18 avril) et en 1981 (le 26 au lieu du 19 avril). De nombreux autres mathématiciens ont depuis développé d'autres formules. Voir des calculs détaillés dans l'article du calcul de la date de Pâques.

Les deux jours de Pâques (le dimanche et le lundi) sont reconnus comme jours fériés par la plupart des pays de tradition chrétienne, excepté aux États-Unis où Pâques est célébrée seulement le dimanche de Pâques et non pas aussi le lundi de Pâques, en revanche, le vendredi saint y est férié. En France par exemple, le lundi de Pâques est férié depuis la loi du 8 mars 1886. Dans les départements de l'Alsace et en Moselle le vendredi saint, qui précède le dimanche de pâques est également férié.


Symbolique
Pour les chrétiens, le symbolisme de la lumière de Pâques a un sens cosmique. La référence à l'équinoxe et à la pleine lune (voir plus haut la Date de Pâques) n'est pas pour eux quelque chose de fortuit : elle est voulue par Dieu lui-même. Ce n'est qu'à l'équinoxe que le Soleil éclaire toute la Terre tandis que, au même moment, la pleine lune continue à réfléchir ses rayons pendant la nuit.

Certains symboles de la fête de Pâques sont à retrouver parmi ceux de la fête juive de Pessa'h et ont pris une autre signification par rapport au Christ. D'autres se rapportent aux épisodes relatés dans les Évangiles.